ได้ยินเพลงดาวมหาลัยมานานแล้ว และเคยได้ฟังเพลงสาวลาดพร้าวมาแล้วด้วย
ทุกครั้งที่ได้ฟังก็อดอมยิ้มไม่ได้
ช่างเสียดสีดีแท้ แม้ว่าเนื้อเพลงจะเสียดสี สาวบ้านหนองใหญ่ ที่เมื่อไปเรียนในกรุงเทพฯแล้ว ก็รังเกียจทุกอย่างที่เป็นของบ้านหนองใหญ่บ้านตัวเอง
อันที่จริง แม้แต่ในระดับกว้างกว่านั้นก็ยังคงใช้ได้ นักเรียนไทยหลายคนไปเรียนต่างประเทศเมื่อจบมาแล้ว ก็เกลียดทุกอย่างที่อยู่ในนามของประเทศของตนเอง อันที่จริงผมคิดว่าผมเองก็อาจจะเคยผ่านความรู้สึกแบบนี้มาก่อนเหมือนกัน ก็ได้แต่หวังว่าตอนนี้คงจะไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว
สิ่งนี้ก็เป็นความรู้สึกตรงข้ามกันกับหลงตัวเอง ดังเช่นพวกหลงชาติ คลั่งชาติ แต่ผมสันนิฐานว่าทั้งคู่มีที่มาคล้ายกันคือการไม่รู้จักตัวเองและไม่รู้จักคนอื่นอย่างแท้จริง
สำหรับพวกที่เกลียดตัวเอง ก็คือเมื่อไม่รู้จักตัวเอง จึงมองไม่เห็นข้อดีของตัวเอง มองไม่เห็นที่มาที่ไปและเงื่อนไขที่นำไปสู่สภาพที่เป็นอยู่ ก็หลงไปกับภาพที่ตนมองคนอื่นและอยากเป็น (อย่าง) คนอื่น ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าด้วยความหวังดีนั่นแหละ
สำหรับพวกที่หลงตัวเองก็ไม่ต่างกัน คือเมื่อไม่รู้จักตัวเอง จึงมองไม่เห็นข้อเสียของตัวเอง มองไม่เห็นทางที่จะทำให้สภาพที่เป็นอยู่ดีขึ้นด้วยคิดว่าที่เป็นอยู่นี้ดีแล้ว ก็หลงไปกับภาพของตนที่ตนคิดเอาและยึดติดกับภาพนั้น ๆ และแน่นอน ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าด้วยความหวังดีอีกเช่นกัน
ผมขอคารวะผู้ประพันธ์เพลงดาวมหาลัย ด้วยว่าทุกครั้งที่ได้ยินได้ฟัง ก็ให้ระลึกเตือนตนเสมอ ว่าอย่ากระทำตนเหมือนดาวมหาลัย
วันอังคาร, ธันวาคม 22, 2552
วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 26, 2552
คติสอนใจจากคุณคริส หอวัง
เมื่อวานนี้ (25 พ.ย. 2552) ได้ชมรายการราตรีสโมสร มีการสัมภาษณ์คุณคริส หอวัง นางเอกภาพยนตร์เรื่องรถไฟฟ้ามาหานะเธอ มีตอนหนึ่งที่ผมสนใจมากคือตอนที่พิธีกรให้คุณคริสเล่าให้ฟังเรื่องการเรียน
คุณคริสเล่าว่า ตอนจบ ม.3 พ่อแม่ก็พยายามให้ลูกได้เรียน ม.4 ในโรงเรียนที่ดี ก็เลยให้เรียนพิเศษเยอะแยะมากมาย แต่คุณคริสแกบอกพิธีกรว่า มันไม่รุ่ง คือเรียนพิเศษยังไง ๆ ก็ไม่รู้เรื่อง ผลการเรียนไม่ดีขึ้น แต่ที่ไปเรียนเต้นน่ะ สอบทีไรก็ได้ที่หนึ่งที่สอง มีประกวดแข่งขันทีไร ก็ได้ที่หนึ่งที่สองทุกที
คุณพ่อกับคุณแม่ก็เลยปรึกษากันว่า ถ้าอย่างนั้นก็น่าจะให้ไปเรียนเต้นเสียให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลย ก็เลยส่งคุณคริสไปเรียนที่โรงเรียนที่มีการสอนเต้นและสอนวิชาสามัญไปด้วยแทนที่จะเรียนวิชาสามัญอย่างเดียว (ผมฟังจากรายการจับใจความได้ประมาณนี้)
ผลก็คือ ผู้หญิงคนนี้กลายเป็นนักเต้นมืออาชีพ มีความรู้ด้านงานในวงการบันเทิงที่ไม่มีสอนในโรงเรียนสายสามัญเยอะแยะ และทำงานที่เป็นที่ใฝ่ฝันของเด็ก ๆ หลายคน เช่นการเป็นนักแสดง นักจัดรายการ นางแบบ
ผมเลยนึกดูเล่น ๆ ว่าถ้าพ่อแม่ไม่มีความเข้าใจในความชอบและความถนัดของลูก และเคี่ยวเข็ญบังคับให้คุณคริสเรียนต่อ ม. 4 5 6 เพื่อไปสอบเอ็นทรานซ์ตามแบบแผนปกติ คุณคริสจะเรียนคณะอะไร และวันนี้คุณคริสน่าจะกำลังประกอบอาชีพอะไรอยู่?
คงฟังดูแปลก ๆ ที่คนที่เป็นครูมาเขียนความคิดเหมือนกับว่าไม่สนับสนุนให้เด็กเรียน จริง ๆ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น เพียงแต่ผมคิดว่าการเรียน มันไม่จำเป็นต้องเป็นสายสามัญ ม. 4 5 6 แล้วต่อด้วยมหาวิทยาลัยจนจบ ป. ตรี โท เอก คณะยอดนิยมเสมอไป การเรียนสายวิชาชีพก็เป็นการเรียน การเรียนศิลปะก็เป็นการเรียน การเรียนคณะที่คนไม่นิยมเรียน (แต่ตนเองมีความชื่นชอบ) ก็เป็นการเรียน
หากเราตั้งใจจริงจนเป็นที่หนึ่งในสิ่งที่เราชอบ สนใจ และมีความถนัดแล้ว มันก็มีโอกาสก้าวหน้า มีโอกาสได้ทำงานที่ท้าทาย และมีความสุขกับงานนั้น ๆ ได้
ผมไม่อยากเห็นพรสวรรค์ของใครมาถูกฆ่าทิ้งในห้องเรียน อย่างที่เห็นอยู่เรื่อย ๆ ถ้านักศึกษารู้เร็วว่าตนเองสนใจอะไร ชอบอะไร และถนัดอะไร ถ้ามุ่งมั่นศึกษาไปในเส้นทางนั้น ก็น่าจะประสบความสำเร็จได้มากกว่าการเรียนตาม ๆ กันไป หรือเรียนเพราะไม่รู้จะไปทำอะไรดีมากกว่า
อยากให้ย้อนไปดูชีวิตของคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตหลาย ๆ คนบ้าง เขาไม่ได้ประสบความสำเร็จเพราะเรียนคณะยอดนิยม เขาไม่ได้ประสบความสำเร็จเพราะผลการเรียนดีเลิศ เขาไม่ได้ประสบความสำเร็จเพราะเขาเรียนสูง
แต่เขาประสบความสำเร็จเพราะความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง และไม่ยอมแพ้ต่างหาก
คุณคริสเล่าว่า ตอนจบ ม.3 พ่อแม่ก็พยายามให้ลูกได้เรียน ม.4 ในโรงเรียนที่ดี ก็เลยให้เรียนพิเศษเยอะแยะมากมาย แต่คุณคริสแกบอกพิธีกรว่า มันไม่รุ่ง คือเรียนพิเศษยังไง ๆ ก็ไม่รู้เรื่อง ผลการเรียนไม่ดีขึ้น แต่ที่ไปเรียนเต้นน่ะ สอบทีไรก็ได้ที่หนึ่งที่สอง มีประกวดแข่งขันทีไร ก็ได้ที่หนึ่งที่สองทุกที
คุณพ่อกับคุณแม่ก็เลยปรึกษากันว่า ถ้าอย่างนั้นก็น่าจะให้ไปเรียนเต้นเสียให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลย ก็เลยส่งคุณคริสไปเรียนที่โรงเรียนที่มีการสอนเต้นและสอนวิชาสามัญไปด้วยแทนที่จะเรียนวิชาสามัญอย่างเดียว (ผมฟังจากรายการจับใจความได้ประมาณนี้)
ผลก็คือ ผู้หญิงคนนี้กลายเป็นนักเต้นมืออาชีพ มีความรู้ด้านงานในวงการบันเทิงที่ไม่มีสอนในโรงเรียนสายสามัญเยอะแยะ และทำงานที่เป็นที่ใฝ่ฝันของเด็ก ๆ หลายคน เช่นการเป็นนักแสดง นักจัดรายการ นางแบบ
ผมเลยนึกดูเล่น ๆ ว่าถ้าพ่อแม่ไม่มีความเข้าใจในความชอบและความถนัดของลูก และเคี่ยวเข็ญบังคับให้คุณคริสเรียนต่อ ม. 4 5 6 เพื่อไปสอบเอ็นทรานซ์ตามแบบแผนปกติ คุณคริสจะเรียนคณะอะไร และวันนี้คุณคริสน่าจะกำลังประกอบอาชีพอะไรอยู่?
คงฟังดูแปลก ๆ ที่คนที่เป็นครูมาเขียนความคิดเหมือนกับว่าไม่สนับสนุนให้เด็กเรียน จริง ๆ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น เพียงแต่ผมคิดว่าการเรียน มันไม่จำเป็นต้องเป็นสายสามัญ ม. 4 5 6 แล้วต่อด้วยมหาวิทยาลัยจนจบ ป. ตรี โท เอก คณะยอดนิยมเสมอไป การเรียนสายวิชาชีพก็เป็นการเรียน การเรียนศิลปะก็เป็นการเรียน การเรียนคณะที่คนไม่นิยมเรียน (แต่ตนเองมีความชื่นชอบ) ก็เป็นการเรียน
หากเราตั้งใจจริงจนเป็นที่หนึ่งในสิ่งที่เราชอบ สนใจ และมีความถนัดแล้ว มันก็มีโอกาสก้าวหน้า มีโอกาสได้ทำงานที่ท้าทาย และมีความสุขกับงานนั้น ๆ ได้
ผมไม่อยากเห็นพรสวรรค์ของใครมาถูกฆ่าทิ้งในห้องเรียน อย่างที่เห็นอยู่เรื่อย ๆ ถ้านักศึกษารู้เร็วว่าตนเองสนใจอะไร ชอบอะไร และถนัดอะไร ถ้ามุ่งมั่นศึกษาไปในเส้นทางนั้น ก็น่าจะประสบความสำเร็จได้มากกว่าการเรียนตาม ๆ กันไป หรือเรียนเพราะไม่รู้จะไปทำอะไรดีมากกว่า
อยากให้ย้อนไปดูชีวิตของคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตหลาย ๆ คนบ้าง เขาไม่ได้ประสบความสำเร็จเพราะเรียนคณะยอดนิยม เขาไม่ได้ประสบความสำเร็จเพราะผลการเรียนดีเลิศ เขาไม่ได้ประสบความสำเร็จเพราะเขาเรียนสูง
แต่เขาประสบความสำเร็จเพราะความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง และไม่ยอมแพ้ต่างหาก
วันจันทร์, พฤศจิกายน 16, 2552
ความชั่วคือความโง่ในกฏของโลก
โลกนี้วุ่นวายเพราะคนมันโง่ มันไม่ฉลาด
ไม่ใช่ฉลาดเรื่องการอินทิเกรต ไม่ใช่ฉลาดเรื่องกฏของเคอร์ชอฟหรือเกาส์
เป็นฉลาดเรื่องกฏของโลก นั่นคือกฏแห่งกรรม (หรือชื่ออื่น ๆ ที่มีความหมายเดียวกัน)
โกหกเพราะโง่
ขี้เกียจเพราะโง่
เอาเปรียบเพื่อนเพราะโง่
ทุจริตเพราะโง่
มักง่ายเพราะโง่
คนเราทุกคนมีความโง่อยู่ในตัวทั้งนั้น เช่นบางคนอาจจะขี้เกียจ หากรู้ตัวก็ฉลาด (ขยัน) ขึ้นมาได้ หากลืมตัวก็กลับไปโง่ (ขี้เกียจ) อีก แต่เรื่องโง่ถึงที่สุดจนกระทั้งเรียนรู้อะไรไม่ได้เลยนั้น...คิดแล้วหงุดหงิด (อ้าว ผมก็โง่นะนี่ มาหงุดหงิดกับเรื่องไม่เป็นเรื่องนี้ ฮ่า ฮ่า ฮ่า)
คนโง่ทำชั่วได้ ทำผิดได้ เพราะไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ ในกฏแห่งกรรม
ทำลงไปแล้วยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าได้ทำผิดไปแล้ว
ได้รับผลของมันแล้วก็ยังไม่รู้ตัวว่ากำลังรับผลของอะไรอยู่ คิดเข้าข้างตนเองว่าโชคร้ายหรือถูกคนอื่นกลั่นแกล้งตลอด เรื่องราวทำนองนี้ก็พบเห็นได้ในหนังสือพิมพ์แทบทุกวัน ณ วันนี้ก็มี
เห็นคนพวกนี้แล้วน่าสงสาร สงสารตรงที่ดูเหมือนเขาจะไม่ทราบเลยว่า เขาได้ทำผิดอะไร
การที่ต้องรับกรรม และเจ็บปวดจากการกระทำของตนเอง โดยที่ตนเองไม่ทราบว่าตัวได้ทำผิดอะไร มันเจ็บว่าที่เจ็บจริงหลายเท่านัก และไม่เลิกเจ็บง่าย ๆ ด้วย เพราะเจ้าตัวยังไม่เลิกทำผิด (เพราะยังไม่รู้ว่าที่ทำอยู่นั้น มีอะไรผิด) อย่างนี้เรียกว่าโง่ถึงที่สุด และน่าสงสารที่สุด
ไม่ใช่ฉลาดเรื่องการอินทิเกรต ไม่ใช่ฉลาดเรื่องกฏของเคอร์ชอฟหรือเกาส์
เป็นฉลาดเรื่องกฏของโลก นั่นคือกฏแห่งกรรม (หรือชื่ออื่น ๆ ที่มีความหมายเดียวกัน)
โกหกเพราะโง่
ขี้เกียจเพราะโง่
เอาเปรียบเพื่อนเพราะโง่
ทุจริตเพราะโง่
มักง่ายเพราะโง่
คนเราทุกคนมีความโง่อยู่ในตัวทั้งนั้น เช่นบางคนอาจจะขี้เกียจ หากรู้ตัวก็ฉลาด (ขยัน) ขึ้นมาได้ หากลืมตัวก็กลับไปโง่ (ขี้เกียจ) อีก แต่เรื่องโง่ถึงที่สุดจนกระทั้งเรียนรู้อะไรไม่ได้เลยนั้น...คิดแล้วหงุดหงิด (อ้าว ผมก็โง่นะนี่ มาหงุดหงิดกับเรื่องไม่เป็นเรื่องนี้ ฮ่า ฮ่า ฮ่า)
คนโง่ทำชั่วได้ ทำผิดได้ เพราะไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ ในกฏแห่งกรรม
ทำลงไปแล้วยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าได้ทำผิดไปแล้ว
ได้รับผลของมันแล้วก็ยังไม่รู้ตัวว่ากำลังรับผลของอะไรอยู่ คิดเข้าข้างตนเองว่าโชคร้ายหรือถูกคนอื่นกลั่นแกล้งตลอด เรื่องราวทำนองนี้ก็พบเห็นได้ในหนังสือพิมพ์แทบทุกวัน ณ วันนี้ก็มี
เห็นคนพวกนี้แล้วน่าสงสาร สงสารตรงที่ดูเหมือนเขาจะไม่ทราบเลยว่า เขาได้ทำผิดอะไร
การที่ต้องรับกรรม และเจ็บปวดจากการกระทำของตนเอง โดยที่ตนเองไม่ทราบว่าตัวได้ทำผิดอะไร มันเจ็บว่าที่เจ็บจริงหลายเท่านัก และไม่เลิกเจ็บง่าย ๆ ด้วย เพราะเจ้าตัวยังไม่เลิกทำผิด (เพราะยังไม่รู้ว่าที่ทำอยู่นั้น มีอะไรผิด) อย่างนี้เรียกว่าโง่ถึงที่สุด และน่าสงสารที่สุด
วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 12, 2552
ฝรั่งเป็นของสูง เพราะมันอยู่บนต้นไม้
เมื่อวานดูละคร จำชื่อเรื่องไม่ได้ เนื้อความเกี่ยวกับพระเอกเป็นลูกเศรษฐี แล้วจะไปทำงานเป็นเชฟ
พอที่บ้านทราบ ดูเหมือนว่าพี่น้องจะรับไม่ได้ บ่นว่า
คือผมอยากจะบอกว่าคนพูดก็ไม่ผิดหรอก คนเขียนบทก็ไม่ผิด มันแค่สะท้อนความคิดคนเฉย ๆ และผมก็เชื่อ จากประสบการณ์ที่ได้พบปะกับคนในที่ต่าง ๆ ว่า ในสังคมไทยแล้ว ความคิดลักษณะที่ว่าฝรั่งเหนือกว่า มันเป็นไปโดยปริยาย ไม่ได้ตั้งใจจริง ๆ
ในระดับมหาวิทยาลัยก็คงมีความคิดลักษณะนี้อยู่บ้าง เพราะเห็นบางมหาวิทยาลัยดูจะเน้นให้นักศึกษาเขียนภาษาอังกฤษได้ พูดภาษาอังกฤษเป็น อย่างมาก ดูจากงบประมาณที่ทุ่มเทลงไปในการพัฒนาภาษาอังกฤษของนักศึกษา แต่กลับละเลยการเขียนภาษาไทยและการอ่านภาษาไทยของนักศึกษาเสียนี่ ทั้ง ๆ ที่นักศึกษาหลายคนอ่านจับใจความไม่ได้ หลายคนเรียบเรียงความคิดและถ่ายทอดในภาษาของตนเองไม่ได้
หรือเพราะไม่ใช่ภาษาฝรั่ง จึงเป็นภาษาที่มีวรรณะต่ำกว่าและไม่น่าสนใจ?
น่าสนใจว่าภาษาฝรั่งที่นักศึกษาจะได้ ทั้ง ๆ ที่ยังจับใจความไม่เป็น และยังเรียบเรียงความคิดเพื่อถ่ายทอดไม่ได้ มันจะเป็นภาษาฝรั่งแบบไหนกัน
พอที่บ้านทราบ ดูเหมือนว่าพี่น้องจะรับไม่ได้ บ่นว่า
"หากใครรู้ว่าลูกพระยา...ตกอับจนถึงกับจะไปทำงานก้นครัว ก็อายเขา"แต่ในบรรดาคนที่บ้านก็มีผู้ชายตนหนึ่งที่ดูจะเข้าอกเข้าใจพระเอก เขาพูดว่า
"อาชีพเชฟก็ไม่ได้กระจอกงอกง่อยอะไร ฝรั่งทำตั้งเยอะ"ฝรั่งทำตั้งเยอะ เพราะฝรั่งทำอาชีพนี้เยอะ มันจึงไม่ใช่อาชีพกระจอกงอกง่อย? ช่างสะท้อนความคิดของคนดีแท้ ถามว่าผิดไหม? มันก็ไม่ผิดหรอก มันก็สะท้อนความคิดคน ที่บางทีแม้แต่เจ้าตัวก็ไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง
คือผมอยากจะบอกว่าคนพูดก็ไม่ผิดหรอก คนเขียนบทก็ไม่ผิด มันแค่สะท้อนความคิดคนเฉย ๆ และผมก็เชื่อ จากประสบการณ์ที่ได้พบปะกับคนในที่ต่าง ๆ ว่า ในสังคมไทยแล้ว ความคิดลักษณะที่ว่าฝรั่งเหนือกว่า มันเป็นไปโดยปริยาย ไม่ได้ตั้งใจจริง ๆ
ในระดับมหาวิทยาลัยก็คงมีความคิดลักษณะนี้อยู่บ้าง เพราะเห็นบางมหาวิทยาลัยดูจะเน้นให้นักศึกษาเขียนภาษาอังกฤษได้ พูดภาษาอังกฤษเป็น อย่างมาก ดูจากงบประมาณที่ทุ่มเทลงไปในการพัฒนาภาษาอังกฤษของนักศึกษา แต่กลับละเลยการเขียนภาษาไทยและการอ่านภาษาไทยของนักศึกษาเสียนี่ ทั้ง ๆ ที่นักศึกษาหลายคนอ่านจับใจความไม่ได้ หลายคนเรียบเรียงความคิดและถ่ายทอดในภาษาของตนเองไม่ได้
หรือเพราะไม่ใช่ภาษาฝรั่ง จึงเป็นภาษาที่มีวรรณะต่ำกว่าและไม่น่าสนใจ?
น่าสนใจว่าภาษาฝรั่งที่นักศึกษาจะได้ ทั้ง ๆ ที่ยังจับใจความไม่เป็น และยังเรียบเรียงความคิดเพื่อถ่ายทอดไม่ได้ มันจะเป็นภาษาฝรั่งแบบไหนกัน
วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 08, 2552
KPI - Key Performance Index ในมหาวิทยาลัย
KPI หรือ Key Performance Index หมายถึงดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของงานของหน่วยงาน ซึ่งจำแนกแยกแยะกันไปตามเนื้องาน เช่น KPI ของหน่วยบริการประชาชนก็อาจเป็นจำนวนประชาชนที่ได้รับบริการ ถ้ามากแสดงว่าหน่วยงานมีผลงานดี ถ้าน้อยแสดงว่าหน่วยงานมีผลงานไม่ดี เป็นต้น
หน่วยงานของรัฐในยุคนี้ ก็จะถูกประเมินกันโดยใช้ KPI เป็นหลัก และแน่นอนมหาวิทยาลัยก็ไม่เว้น
อันที่จริง KPI นี้ถ้าใช้อย่างเข้าใจ ใช้เป็น ก็จะเป็นของดี เพราะมันช่วยให้มองเห็นเป้าหมายของหน่วยงานเป็นรูปธรรม ทำให้มองเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนได้ดี
แต่เมื่อมันเข้ามาในระบบราชการบางหน่วยงาน KPI นี้แทนที่จะเป็นตัวชี้วัด เป็นตัว สะท้อน ผลงาน ตัว KPI มันกลับกลายเป็น เนื้องาน ของหน่วยงานแทน และมันทำให้เป้าหมายที่แท้จริงของหน่วยงานถูกบดบังโดยการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างตัวเลข KPI เหล่านี้
เรื่องตลกก็เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้องกันงบเป็นกรณีพิเศษ เพื่อ KPI เรื่องการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ซึ่งกิจกรรมที่จัดได้ก็เช่นจัดงานทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ในขณะที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเดียวกันก็ต้องพยายามทำวิจัยเพิ่มเพื่อพัฒนา KPI เรื่องการวิจัย เป็นต้น ถ้าถามว่า KPI ดีไหม ตอบว่าดีแน่ แต่ต้องใช้ให้เป็น รู้ให้ทัน แต่จากตัวอย่างที่ยกมานั้น มันเป็น KPI แบบบ้าจี้ เป็น KPI แบบไม่รู้เรื่อง รับกันมาเป็นทอด ๆ มากกว่า
นอกจากนี้ หากเราเชื่อว่า KPI มีไว้เพื่อให้มองเห็นจุดแข็ง และจุดอ่อนของหน่วยงาน เพื่อที่จะพัฒนาตนเองต่อไปได้ มันก็ยังอุตส่าห์มี KPI บางตัวที่ไม่รู้ว่าจะรู้ไปทำไม
เช่น จำนวนศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลในระดับชาติและนานาชาติ เป็นต้น
ศิษย์เก่านะครับ ไม่ใช่ศิษย์ปัจจุบัน เขาจะได้รับรางวัลมากหรือน้อย มหาวิทยาลัยทำอะไรไม่ได้แล้ว เขาจบไปแล้ว เราจะพัฒนาตนเองยังไงหรือครับ ศิษย์เก่า ถึงจะได้รับรางวัลเพิ่ม
ที่ทำกันก็มีนะ เช่นจัดงานกันเอง แจกรางวัลกันเอง แล้วก็นับ KPI กันเอง
ผมว่าเลิกเหอะ KPI ข้อนี้ แล้วไปเน้นเรื่องการพัฒนานักเรียนนักศึกษาของเราดีกว่า ถือเอา Feedback ที่ไม่มี Delay Time เช่นจำนวนศิษย์ปัจจุบันที่เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการต่าง ๆ ดีกว่า ได้รางวัลก็แสดงว่าสอนมาดี ไปแข่งแล้วไม่ชนะเขาสักที แสดงว่าต้องปรับปรุง เป็น Feedback ที่ตรงไปตรงมาและรวดเร็วดี เป็น KPI ที่จะช่วยให้เรามองเห็นจุดอ่อนของตนเองได้ดี และเปิดโอกาสให้เราพัฒนาตนเองได้จริง ๆ
ไม่ใช่หลอกตัวเองไปวัน ๆ
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการทักท้วงจากอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไหม? คำตอบคือจริง ๆ แล้วมีการตั้งคำถาม และมีการทักท้วงอยู่ตลอดมา แต่คำตอบที่ได้มันน่าผิดหวังมาก สิ่งที่เขาตอบเราได้ก็มีแค่ ก.พ.ร. เป็นผู้กำหนด ดังนั้นเปลี่ยนไม่ได้!
จริง ๆ ผมก็ทราบนะ ว่าตัวชี้วัดพวกนี้ ก.พ.ร. ท่านกำหนดมาสำหรับหน่วยงานราชการทั่วประเทศ โดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ กัน เช่นมหาวิทยาลัยก็จะมีเกณฑ์อย่างหนึ่ง โรงพยาบาลก็มีเกณฑ์อีกอย่างหนึ่ง
แต่ผมว่าเกณฑ์สำหรับมหาวิทยาลัยนั้น ไม่น่าจะใช่ว่า ก.พ.ร. ส่งเกณฑ์มาใด้ 40 ข้อ มหาวิทยาลัยก็โยนให้คณะ 40 ข้อดิบ ๆ อย่างนั้น ระดับบนมันต้องช่วยย่อยบ้าง สิ่งใดเป็นภาพรวม ส่วนกลางของมหาวิทยาลัยก็ทำไปเลย เช่นจำนวนนักศึกษาต่างชาติ ทำไมสำนักทะเบียนจะไม่รู้ ไม่ใช่มาถามเอาที่ระดับคณะ หรือที่ระดับภาควิชา เกณฑ์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมก็ยกให้คณะศิลปกรรมศาสตร์เขาไปเลย แล้วไม่ต้องไปคาดคั้นเอานวัตกรรมจากเขา มาคาดคั้นเอากับคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์นี่ แล้วไม่ต้องเรียกร้องให้เราไปส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
แต่ตอนนี้คือ ใช้ KPI ไม่เป็นไง
เจ้านายอยากได้ตัวเลข ก็เอาตัวเลขให้ ใช้แบบไม่ได้คิด มันเลยดูบ้าบอ แล้วก็ ถ่วง ประสิทธิภาพในหน้าที่หลักของเราคือการสอนไปด้วย
หรือเราอยากได้ KPI สูง ๆ (และได้มาจริง ๆ ด้วย) ในขณะที่นักศึกษาของเราแข่งอะไรยังไม่เคยชนะเลย?
อะไรคือของจริงและอะไรคือภาพลวงตากันแน่?
หน่วยงานของรัฐในยุคนี้ ก็จะถูกประเมินกันโดยใช้ KPI เป็นหลัก และแน่นอนมหาวิทยาลัยก็ไม่เว้น
อันที่จริง KPI นี้ถ้าใช้อย่างเข้าใจ ใช้เป็น ก็จะเป็นของดี เพราะมันช่วยให้มองเห็นเป้าหมายของหน่วยงานเป็นรูปธรรม ทำให้มองเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนได้ดี
แต่เมื่อมันเข้ามาในระบบราชการบางหน่วยงาน KPI นี้แทนที่จะเป็นตัวชี้วัด เป็นตัว สะท้อน ผลงาน ตัว KPI มันกลับกลายเป็น เนื้องาน ของหน่วยงานแทน และมันทำให้เป้าหมายที่แท้จริงของหน่วยงานถูกบดบังโดยการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างตัวเลข KPI เหล่านี้
เรื่องตลกก็เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้องกันงบเป็นกรณีพิเศษ เพื่อ KPI เรื่องการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ซึ่งกิจกรรมที่จัดได้ก็เช่นจัดงานทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ในขณะที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเดียวกันก็ต้องพยายามทำวิจัยเพิ่มเพื่อพัฒนา KPI เรื่องการวิจัย เป็นต้น ถ้าถามว่า KPI ดีไหม ตอบว่าดีแน่ แต่ต้องใช้ให้เป็น รู้ให้ทัน แต่จากตัวอย่างที่ยกมานั้น มันเป็น KPI แบบบ้าจี้ เป็น KPI แบบไม่รู้เรื่อง รับกันมาเป็นทอด ๆ มากกว่า
นอกจากนี้ หากเราเชื่อว่า KPI มีไว้เพื่อให้มองเห็นจุดแข็ง และจุดอ่อนของหน่วยงาน เพื่อที่จะพัฒนาตนเองต่อไปได้ มันก็ยังอุตส่าห์มี KPI บางตัวที่ไม่รู้ว่าจะรู้ไปทำไม
เช่น จำนวนศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลในระดับชาติและนานาชาติ เป็นต้น
ศิษย์เก่านะครับ ไม่ใช่ศิษย์ปัจจุบัน เขาจะได้รับรางวัลมากหรือน้อย มหาวิทยาลัยทำอะไรไม่ได้แล้ว เขาจบไปแล้ว เราจะพัฒนาตนเองยังไงหรือครับ ศิษย์เก่า ถึงจะได้รับรางวัลเพิ่ม
ที่ทำกันก็มีนะ เช่นจัดงานกันเอง แจกรางวัลกันเอง แล้วก็นับ KPI กันเอง
ผมว่าเลิกเหอะ KPI ข้อนี้ แล้วไปเน้นเรื่องการพัฒนานักเรียนนักศึกษาของเราดีกว่า ถือเอา Feedback ที่ไม่มี Delay Time เช่นจำนวนศิษย์ปัจจุบันที่เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการต่าง ๆ ดีกว่า ได้รางวัลก็แสดงว่าสอนมาดี ไปแข่งแล้วไม่ชนะเขาสักที แสดงว่าต้องปรับปรุง เป็น Feedback ที่ตรงไปตรงมาและรวดเร็วดี เป็น KPI ที่จะช่วยให้เรามองเห็นจุดอ่อนของตนเองได้ดี และเปิดโอกาสให้เราพัฒนาตนเองได้จริง ๆ
ไม่ใช่หลอกตัวเองไปวัน ๆ
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการทักท้วงจากอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไหม? คำตอบคือจริง ๆ แล้วมีการตั้งคำถาม และมีการทักท้วงอยู่ตลอดมา แต่คำตอบที่ได้มันน่าผิดหวังมาก สิ่งที่เขาตอบเราได้ก็มีแค่ ก.พ.ร. เป็นผู้กำหนด ดังนั้นเปลี่ยนไม่ได้!
จริง ๆ ผมก็ทราบนะ ว่าตัวชี้วัดพวกนี้ ก.พ.ร. ท่านกำหนดมาสำหรับหน่วยงานราชการทั่วประเทศ โดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ กัน เช่นมหาวิทยาลัยก็จะมีเกณฑ์อย่างหนึ่ง โรงพยาบาลก็มีเกณฑ์อีกอย่างหนึ่ง
แต่ผมว่าเกณฑ์สำหรับมหาวิทยาลัยนั้น ไม่น่าจะใช่ว่า ก.พ.ร. ส่งเกณฑ์มาใด้ 40 ข้อ มหาวิทยาลัยก็โยนให้คณะ 40 ข้อดิบ ๆ อย่างนั้น ระดับบนมันต้องช่วยย่อยบ้าง สิ่งใดเป็นภาพรวม ส่วนกลางของมหาวิทยาลัยก็ทำไปเลย เช่นจำนวนนักศึกษาต่างชาติ ทำไมสำนักทะเบียนจะไม่รู้ ไม่ใช่มาถามเอาที่ระดับคณะ หรือที่ระดับภาควิชา เกณฑ์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมก็ยกให้คณะศิลปกรรมศาสตร์เขาไปเลย แล้วไม่ต้องไปคาดคั้นเอานวัตกรรมจากเขา มาคาดคั้นเอากับคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์นี่ แล้วไม่ต้องเรียกร้องให้เราไปส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
แต่ตอนนี้คือ ใช้ KPI ไม่เป็นไง
เจ้านายอยากได้ตัวเลข ก็เอาตัวเลขให้ ใช้แบบไม่ได้คิด มันเลยดูบ้าบอ แล้วก็ ถ่วง ประสิทธิภาพในหน้าที่หลักของเราคือการสอนไปด้วย
หรือเราอยากได้ KPI สูง ๆ (และได้มาจริง ๆ ด้วย) ในขณะที่นักศึกษาของเราแข่งอะไรยังไม่เคยชนะเลย?
อะไรคือของจริงและอะไรคือภาพลวงตากันแน่?
วันเสาร์, เมษายน 18, 2552
อะไรคือสองมาตรฐานในเรื่องเสื้อเหลือเสื้อแดง
ผมคิดว่าผมเข้าใจความคิดและความรู้สึกของคนเสื้อแดง "บางส่วน" เท่าที่มีโอกาสได้พูดคุยสอบถามกับเพื่อน ๆ ที่เปิดตัวว่าสวมเสื้อแดง
สิ่งที่ชัดที่สุด ถาม 10 คน ได้คำตอบคล้าย ๆ กัน 10 คน ในเวลานี้ คือเรื่อง สองมาตรฐาน เพื่อน ๆ ผมหลายคนไม่เข้าใจว่า ทำไมเสื้อเหลืองทำม๊อบได้ แล้วเสื้อแดงทำม๊อบไม่ได้ และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนเสื้อแดง (ที่ไม่ได้ไปม๊อบ) ที่ผมคุยด้วย คับข้องใจอย่างที่สุด
ทำไมเสื้อเหลืองปิดถนน ไม่เป็นไร ทำไมเสื้อแดงปิดถนนแล้วมีปัญหา?
ผมคิดว่าความคับข้องใจอันนี้หากไม่ได้รับคำชี้แจง ที่กระจ่าง และเข้าใจได้ง่าย โดยเร็ว ผมคิดว่าสังคมไทยจะตกอยู่ในอันตรายอย่างร้ายรายต่อไป เพราะคนเสื้อแดงจะปักใจว่าเขาไม่ได้รับความยุติธรรม
ความคับข้องใจอันนี้ผมคิดว่าเข้าใจได้ ผมเคยอ่านนิตยสารต่วยตูนเล่มเก่ามาก ๆ (ของพ่อ) เรื่องที่จำได้มีอยู่ว่าสมัยก่อน (ทีวียังเป็นขาวดำ มีราคาแพง และไม่แพร่หลาย) เคยมีข้าราชการจากในเมือง ไปเล่นฟุตบอลเชื่อมสามัคคีกับชาวบ้าน ปรากฏว่า พอข้าราชการเตะลูกเข้าประตู กรรมการให้เป็นประตู แต่พอชาวบ้านเตะลูกเข้าประตู กรรมการไม่ให้เป็นประตู ชาวบ้านก็โวยวาย ว่าสองมาตรฐาน แม้กรรมการพยายามอธิบายให้ฟังว่าที่ไม่ได้ประตู ก็เพราะล้ำหน้า ชาวบ้านก็ไม่ฟังและก็โกรธมาก เพราะรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
สาเหตุก็เพราะสำหรับชาวบ้านแล้ว กติกาฟุตบอลมันไม่ยุ่งยาก มีลูกเข้า กับลูกออก แล้วก็ห้ามให้มือ พอปักใจเชื่อเช่นนั้นแล้ว เรื่องล้ำหน้าอะไรนั่น มันก็ไม่มีความหมาย เพราะเขาไม่เข้าใจ และไม่รู้จัก สุดท้ายก็ทะเลาะกัน ผิดใจกัน เพราะเข้าใจกติกาไม่ตรงกันตั้งแต่แรก บทสรุปตอนนั้นดูเหมือนว่าเขายอมเปลี่ยนกติกา ให้เป็นกติกาชาวบ้าน คือมีแค่ลูกเข้า ลูกออก แล้วก็ห้ามใช้มือนอกจากผู้รักษาประตู
สำหรับเรื่องเสื้อเหลืองเสื้อแดง ผมก็อยากให้สื่อมวลชน รัฐบาล และพวกเสื้อเหลืองเอง ช่วยกันอธิบาย และปฏิบัติ ให้มันกระจ่างว่าจริง ๆ แล้วมันมีเรื่องสองมาตรฐานหรือไม่ และเรื่องนี้ต้องทำให้เร็ว หากทิ้งช้าไป ความรู้สึกคับแค้นคับข้องใจ มันจะซืมลึกลงไปจนกลายเป็นความเคียดแค้นต่อสังคมได้ ซึ่งมันอันตรายมาก
ประเด็นหลัก ๆ ที่นึกออกก็มี (ผมไม่บังอาจสั่งสอนผู้ใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่บังอาจสั่งสอนท่านนายกและทีมงาน บางส่วนที่นึกออกและตอบไว้ อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกก็ได้ แต่ก็จะเป็นคำตอบที่หากมีคนมาถามผม ผมก็จะตอบอย่างนี้)
1. ทำไมเสื้อเหลืองก่อม๊อบ ไม่โดนจับ เสื้อแดงก่อม๊อบ โดนจับ?
ผมอ่านข่าวทุกวัน แต่ผมจำข่าวไม่ได้ทุกวัน ผมจำได้ว่าแกนนำม๊อบเสื้อเหลืองก็ถูกหมายจับเหมือนกัน คือถูกจับดำเนินคดีเหมือนกันแต่เขาให้ประกันตัวออกมา สำหรับแกนนำเสื้อแดง ถูกจับดำเนินคดี แต่ไม่ได้ประกันตัว เพราะฉะนั้นจึงถูกจับทั้งคู่ ไม่ใช่จับฝ่ายเดียว
2. ทำไมเสื้อเหลืองได้ประกันตัว เสื้อแดงไม่ได้ประกันตัว?
นายกบอกว่าเพราะแกนนำเสื้อแดงมีพฤติกรรมที่จะกลับไปก่อความวุ่นวายต่อ แกนนำเสื้อเหลืองไม่มี (?) ผมคิดว่าอธิบายแบบนี้ มันไม่สิ้นสงสัย มันไม่กระจ่าง ไม่หายคับข้องใจครับ ชาวบ้านเขาก็เห็นว่าเสื้อเหลืองยังไม่เลิกด่าทักษิณ สำหรับเสื้อแดง การด่าทักษิณไม่เลิกถือเป็นการก่อความวุ่นวายอย่างหนึ่ง จริง ๆ แล้วผมคิดว่ามันอาจเป็นเพราะมันเกิดความวุ่นวาย เผาบ้าน เผาเมือง หรือเปล่า ถึงได้ไม่ให้ประกันตัว ตอนเสื้อเหลืองมันไม่มีการเผาบ้านเผาเมือง สถานการณ์มันแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ก็น่าจะอธิบายไปตามนั้น
3. ทำไมตอนเสื้อเหลืองชุมนุม พอรัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉิน ทหารไม่ออกมา แต่ตอนเสื้อแดงชุมนุม พอรัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉิน ทหารถึงออกมา?
ไม่รู้สินะ แต่ตอนเสื้อเหลืองชุมนุมนั่น นายกไม่ใช่อภิสิทธิ์นี่ (หว่า) คนประกาศคือนายกสมัคร ให้ พล.อ. อนุพงศ์ รับผิดชอบ แต่ พล. อ. อนุพงศ์ แกเฉย ๆ
ส่วนตอนเสื้อแดงชุมนุม นายกคืออภิสิทธิ์เป็นผู้ประกาศภาวะฉุกเฉิน ให้ ผบ.สส. พล.อ. ทรงกิตติ เป็นผู้รับผิดชอบ แต่ พล.อ. ทรงกิตติ แกไม่เฉยไง
คือมันเป็นปฏิกริยาต่อเหตุการณ์คล้ายกันจากคนสองกลุ่ม คือกลุ่มสมัคร กับกลุ่มอภิสิทธิ์ ไม่ใช่ว่าตอนนั้นอภิสิทธิ์เป็นนายกแล้วปล่อยปละละเลยม๊อบ พอมาเป็นสีแดงแล้วจะมาเข้มงวดสักหน่อย?
ผมว่าใครสงสัยเรื่องนี้ แทนที่จะถามนายกอภิสิทธิ์ น่าจะไปถาม นายกสมัคร ว่าทำไมสั่งทหารแล้วทหารไม่ทำ แล้วก็ไปถาม พล.อ.อนุพงศ์ ว่าทำไมไม่ดำเนินการตามที่นายกสมัครสั่ง แล้วก็ไปถาม พล.อ. ทรงกิตติ ว่าทำไมทำตามที่นายกอภิสิทธิ์สั่งมากกว่า
4. ทำไมตอนตำรวจปราบเสื้อเหลือง หาว่ารุนแรง ทหารปราบเสื้อแดงไม่เห็นบอกว่ารุนแรง?
อันนี้คงต้องระบุให้ชัดว่าถามใคร เพราะถ้าถามนักวิชาการสีขาว ท่านก็ว่ามันรุนแรงทั้งตำรวจและทหารนั่นแหละ ท่านไม่สองมาตรฐานหรอก
สำหรับผม ผมคิดว่าเมื่อตอนตำรวจดำเนินการ อาจจะด้วยขาดวิธีการ และประสบการณ์ รวมไปถึงใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสม มันก็เลยกลายเป็นความรุนแรง ในคราวนี้เมื่อทหารออกมา พร้อมด้วยวิธีการ และเห็นบทเรียนจากตำรวจมาแล้ว จึงไม่ผิดซ้ำอีก รวมถึงผลของมันก็แตกต่างกัน คือมีผู้เสียชีวิต กับ ไม่มีผู้เสียชีวิต
5. ทำไมแกนนำเสื้อเหลืองได้เป็นรัฐมนตรี แกนนำเสื้อแดงถูกจับ?
อืม...ตอนนายกสมัคร นายกสมชายอยู่ในตำแหน่ง แกนนำเสื้อแดงก็มีตำแหน่งนะ ผมจำผิดหรือเปล่าว่าณัฐวุฒิแกเป็นโฆษกอะไรสักอย่างในรัฐบาลไหนสักรัฐบาลนึงนี่แหละ
ในฝั่งของเสื้อเหลือง เขาชี้แจงว่าท่านกษิต ไม่ใช่แกนนำ แต่เป็นวิทยากร ผู้อภิปรายบนเวทีเฉย ๆ
จะคุยเรื่องนี้เราคงต้องมานิยามกันก่อนว่า แกนนำ หมายถึงใคร ที่มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรในการชุมนุมบ้างก่อน ถึงจะไปต่อได้
ผมว่ามันคงมีอีกหลายคำถามนั่นแหละ แต่ผมเชื่อว่ามันตอบได้ อย่างมีเหตุมีผลทุกคำถาม เพียงแต่คนตอบอย่าไปนึกว่าคำถามพวกนี้มันไร้สาระเสียก่อนเท่านั้นเอง แล้วเวลาตอบ ก็ตอบให้มันฟังง่าย ๆ อย่าใช้คำที่มันฟังแล้วต้องแปลแล้วแปลอีก
นอกเหนือจากเรื่องสองมาตรฐานที่ต้องรีบชี้แจงแล้วที่สำคัญ ผมคิดว่ารัฐบาลควรประชาสัมพันธ์ความผิดของทักษิณให้ทราบทั่วกัน บางเรื่องไม่ผิดกฏหมาย แต่เป็นเรื่องที่ผิดหลักการผลประโยชน์ทับซ้อน ก็ต้องเอามาอธิบายกันให้ทราบ ให้เข้าใจว่าแข่งฟุตบอลกับกรรมการ มันเป็นเรื่องไม่ปกติอย่างไร
เรื่องสุดท้าย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในความคิดของผมก็คือเรื่องบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบบการเมืองการปกครองของไทย ที่จะต้องทำความเข้าใจกับทุก ๆ คนที่สงสัยอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผย หากกระซิบกันไปกระซิบกันมา มันจะยิ่งสร้างคนที่สงสัยขึ้นมามากขึ้น ยิ่งคนที่สงสัยถูกด่าว่าเพราะไม่จงรักภักดีจึงสงสัยนั้น ก็จะยิ่งเป็นการผลักดันคนที่สงสัยไปอยู่ฝั่งเดียวกันกับคนที่ปฏิเสธ ซึ่งผมเชื่อว่าไม่เป็นผลดีต่อสังคมเลย
(เริ่มเขียนหลังจากจลาจลวันสงกรานต์สงบวันสองวัน เขียนเสร็จตอนที่นายกอภิสิทธิ์พยายามทำความเข้าใจกับประชาชนเรื่องสองมาตรฐานเกือบเสร็จแล้ว)
สิ่งที่ชัดที่สุด ถาม 10 คน ได้คำตอบคล้าย ๆ กัน 10 คน ในเวลานี้ คือเรื่อง สองมาตรฐาน เพื่อน ๆ ผมหลายคนไม่เข้าใจว่า ทำไมเสื้อเหลืองทำม๊อบได้ แล้วเสื้อแดงทำม๊อบไม่ได้ และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนเสื้อแดง (ที่ไม่ได้ไปม๊อบ) ที่ผมคุยด้วย คับข้องใจอย่างที่สุด
ทำไมเสื้อเหลืองปิดถนน ไม่เป็นไร ทำไมเสื้อแดงปิดถนนแล้วมีปัญหา?
ผมคิดว่าความคับข้องใจอันนี้หากไม่ได้รับคำชี้แจง ที่กระจ่าง และเข้าใจได้ง่าย โดยเร็ว ผมคิดว่าสังคมไทยจะตกอยู่ในอันตรายอย่างร้ายรายต่อไป เพราะคนเสื้อแดงจะปักใจว่าเขาไม่ได้รับความยุติธรรม
ความคับข้องใจอันนี้ผมคิดว่าเข้าใจได้ ผมเคยอ่านนิตยสารต่วยตูนเล่มเก่ามาก ๆ (ของพ่อ) เรื่องที่จำได้มีอยู่ว่าสมัยก่อน (ทีวียังเป็นขาวดำ มีราคาแพง และไม่แพร่หลาย) เคยมีข้าราชการจากในเมือง ไปเล่นฟุตบอลเชื่อมสามัคคีกับชาวบ้าน ปรากฏว่า พอข้าราชการเตะลูกเข้าประตู กรรมการให้เป็นประตู แต่พอชาวบ้านเตะลูกเข้าประตู กรรมการไม่ให้เป็นประตู ชาวบ้านก็โวยวาย ว่าสองมาตรฐาน แม้กรรมการพยายามอธิบายให้ฟังว่าที่ไม่ได้ประตู ก็เพราะล้ำหน้า ชาวบ้านก็ไม่ฟังและก็โกรธมาก เพราะรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
สาเหตุก็เพราะสำหรับชาวบ้านแล้ว กติกาฟุตบอลมันไม่ยุ่งยาก มีลูกเข้า กับลูกออก แล้วก็ห้ามให้มือ พอปักใจเชื่อเช่นนั้นแล้ว เรื่องล้ำหน้าอะไรนั่น มันก็ไม่มีความหมาย เพราะเขาไม่เข้าใจ และไม่รู้จัก สุดท้ายก็ทะเลาะกัน ผิดใจกัน เพราะเข้าใจกติกาไม่ตรงกันตั้งแต่แรก บทสรุปตอนนั้นดูเหมือนว่าเขายอมเปลี่ยนกติกา ให้เป็นกติกาชาวบ้าน คือมีแค่ลูกเข้า ลูกออก แล้วก็ห้ามใช้มือนอกจากผู้รักษาประตู
สำหรับเรื่องเสื้อเหลืองเสื้อแดง ผมก็อยากให้สื่อมวลชน รัฐบาล และพวกเสื้อเหลืองเอง ช่วยกันอธิบาย และปฏิบัติ ให้มันกระจ่างว่าจริง ๆ แล้วมันมีเรื่องสองมาตรฐานหรือไม่ และเรื่องนี้ต้องทำให้เร็ว หากทิ้งช้าไป ความรู้สึกคับแค้นคับข้องใจ มันจะซืมลึกลงไปจนกลายเป็นความเคียดแค้นต่อสังคมได้ ซึ่งมันอันตรายมาก
ประเด็นหลัก ๆ ที่นึกออกก็มี (ผมไม่บังอาจสั่งสอนผู้ใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่บังอาจสั่งสอนท่านนายกและทีมงาน บางส่วนที่นึกออกและตอบไว้ อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกก็ได้ แต่ก็จะเป็นคำตอบที่หากมีคนมาถามผม ผมก็จะตอบอย่างนี้)
1. ทำไมเสื้อเหลืองก่อม๊อบ ไม่โดนจับ เสื้อแดงก่อม๊อบ โดนจับ?
ผมอ่านข่าวทุกวัน แต่ผมจำข่าวไม่ได้ทุกวัน ผมจำได้ว่าแกนนำม๊อบเสื้อเหลืองก็ถูกหมายจับเหมือนกัน คือถูกจับดำเนินคดีเหมือนกันแต่เขาให้ประกันตัวออกมา สำหรับแกนนำเสื้อแดง ถูกจับดำเนินคดี แต่ไม่ได้ประกันตัว เพราะฉะนั้นจึงถูกจับทั้งคู่ ไม่ใช่จับฝ่ายเดียว
2. ทำไมเสื้อเหลืองได้ประกันตัว เสื้อแดงไม่ได้ประกันตัว?
นายกบอกว่าเพราะแกนนำเสื้อแดงมีพฤติกรรมที่จะกลับไปก่อความวุ่นวายต่อ แกนนำเสื้อเหลืองไม่มี (?) ผมคิดว่าอธิบายแบบนี้ มันไม่สิ้นสงสัย มันไม่กระจ่าง ไม่หายคับข้องใจครับ ชาวบ้านเขาก็เห็นว่าเสื้อเหลืองยังไม่เลิกด่าทักษิณ สำหรับเสื้อแดง การด่าทักษิณไม่เลิกถือเป็นการก่อความวุ่นวายอย่างหนึ่ง จริง ๆ แล้วผมคิดว่ามันอาจเป็นเพราะมันเกิดความวุ่นวาย เผาบ้าน เผาเมือง หรือเปล่า ถึงได้ไม่ให้ประกันตัว ตอนเสื้อเหลืองมันไม่มีการเผาบ้านเผาเมือง สถานการณ์มันแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ก็น่าจะอธิบายไปตามนั้น
3. ทำไมตอนเสื้อเหลืองชุมนุม พอรัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉิน ทหารไม่ออกมา แต่ตอนเสื้อแดงชุมนุม พอรัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉิน ทหารถึงออกมา?
ไม่รู้สินะ แต่ตอนเสื้อเหลืองชุมนุมนั่น นายกไม่ใช่อภิสิทธิ์นี่ (หว่า) คนประกาศคือนายกสมัคร ให้ พล.อ. อนุพงศ์ รับผิดชอบ แต่ พล. อ. อนุพงศ์ แกเฉย ๆ
ส่วนตอนเสื้อแดงชุมนุม นายกคืออภิสิทธิ์เป็นผู้ประกาศภาวะฉุกเฉิน ให้ ผบ.สส. พล.อ. ทรงกิตติ เป็นผู้รับผิดชอบ แต่ พล.อ. ทรงกิตติ แกไม่เฉยไง
คือมันเป็นปฏิกริยาต่อเหตุการณ์คล้ายกันจากคนสองกลุ่ม คือกลุ่มสมัคร กับกลุ่มอภิสิทธิ์ ไม่ใช่ว่าตอนนั้นอภิสิทธิ์เป็นนายกแล้วปล่อยปละละเลยม๊อบ พอมาเป็นสีแดงแล้วจะมาเข้มงวดสักหน่อย?
ผมว่าใครสงสัยเรื่องนี้ แทนที่จะถามนายกอภิสิทธิ์ น่าจะไปถาม นายกสมัคร ว่าทำไมสั่งทหารแล้วทหารไม่ทำ แล้วก็ไปถาม พล.อ.อนุพงศ์ ว่าทำไมไม่ดำเนินการตามที่นายกสมัครสั่ง แล้วก็ไปถาม พล.อ. ทรงกิตติ ว่าทำไมทำตามที่นายกอภิสิทธิ์สั่งมากกว่า
4. ทำไมตอนตำรวจปราบเสื้อเหลือง หาว่ารุนแรง ทหารปราบเสื้อแดงไม่เห็นบอกว่ารุนแรง?
อันนี้คงต้องระบุให้ชัดว่าถามใคร เพราะถ้าถามนักวิชาการสีขาว ท่านก็ว่ามันรุนแรงทั้งตำรวจและทหารนั่นแหละ ท่านไม่สองมาตรฐานหรอก
สำหรับผม ผมคิดว่าเมื่อตอนตำรวจดำเนินการ อาจจะด้วยขาดวิธีการ และประสบการณ์ รวมไปถึงใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสม มันก็เลยกลายเป็นความรุนแรง ในคราวนี้เมื่อทหารออกมา พร้อมด้วยวิธีการ และเห็นบทเรียนจากตำรวจมาแล้ว จึงไม่ผิดซ้ำอีก รวมถึงผลของมันก็แตกต่างกัน คือมีผู้เสียชีวิต กับ ไม่มีผู้เสียชีวิต
5. ทำไมแกนนำเสื้อเหลืองได้เป็นรัฐมนตรี แกนนำเสื้อแดงถูกจับ?
อืม...ตอนนายกสมัคร นายกสมชายอยู่ในตำแหน่ง แกนนำเสื้อแดงก็มีตำแหน่งนะ ผมจำผิดหรือเปล่าว่าณัฐวุฒิแกเป็นโฆษกอะไรสักอย่างในรัฐบาลไหนสักรัฐบาลนึงนี่แหละ
ในฝั่งของเสื้อเหลือง เขาชี้แจงว่าท่านกษิต ไม่ใช่แกนนำ แต่เป็นวิทยากร ผู้อภิปรายบนเวทีเฉย ๆ
จะคุยเรื่องนี้เราคงต้องมานิยามกันก่อนว่า แกนนำ หมายถึงใคร ที่มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรในการชุมนุมบ้างก่อน ถึงจะไปต่อได้
ผมว่ามันคงมีอีกหลายคำถามนั่นแหละ แต่ผมเชื่อว่ามันตอบได้ อย่างมีเหตุมีผลทุกคำถาม เพียงแต่คนตอบอย่าไปนึกว่าคำถามพวกนี้มันไร้สาระเสียก่อนเท่านั้นเอง แล้วเวลาตอบ ก็ตอบให้มันฟังง่าย ๆ อย่าใช้คำที่มันฟังแล้วต้องแปลแล้วแปลอีก
นอกเหนือจากเรื่องสองมาตรฐานที่ต้องรีบชี้แจงแล้วที่สำคัญ ผมคิดว่ารัฐบาลควรประชาสัมพันธ์ความผิดของทักษิณให้ทราบทั่วกัน บางเรื่องไม่ผิดกฏหมาย แต่เป็นเรื่องที่ผิดหลักการผลประโยชน์ทับซ้อน ก็ต้องเอามาอธิบายกันให้ทราบ ให้เข้าใจว่าแข่งฟุตบอลกับกรรมการ มันเป็นเรื่องไม่ปกติอย่างไร
เรื่องสุดท้าย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในความคิดของผมก็คือเรื่องบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบบการเมืองการปกครองของไทย ที่จะต้องทำความเข้าใจกับทุก ๆ คนที่สงสัยอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผย หากกระซิบกันไปกระซิบกันมา มันจะยิ่งสร้างคนที่สงสัยขึ้นมามากขึ้น ยิ่งคนที่สงสัยถูกด่าว่าเพราะไม่จงรักภักดีจึงสงสัยนั้น ก็จะยิ่งเป็นการผลักดันคนที่สงสัยไปอยู่ฝั่งเดียวกันกับคนที่ปฏิเสธ ซึ่งผมเชื่อว่าไม่เป็นผลดีต่อสังคมเลย
(เริ่มเขียนหลังจากจลาจลวันสงกรานต์สงบวันสองวัน เขียนเสร็จตอนที่นายกอภิสิทธิ์พยายามทำความเข้าใจกับประชาชนเรื่องสองมาตรฐานเกือบเสร็จแล้ว)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)