ในภาคเรียนนี้ (๑/๒๕๕๔) ผมได้ประมวลความบกพร่องในการสอนจากภาคเรียนก่อน ๆ เข้าด้วยกันพบว่า ความบกพร่องของผมก็คือ
- ให้เวลาน้อยเกินไปกับคนที่ตั้งใจเรียน อยากเรียน อยากรู้
- ให้เวลามากเกินไปกับคนที่ไม่ตั้งใจเรียน ไม่ได้อยากเรียน ไม่ได้อยากรู้
- เอาเรื่องพื้นฐานที่ควรให้นักเรียนขบคิดเอง ไปสอนอย่างละเอียดในห้องเรียน ส่งผลให้คนที่เรียนได้เร็วจะเบื่อ ในขณะที่คนที่เรียนได้ช้าก็จะงง
นั่นหมายความว่า หากไปถามข้างทาง จะไม่ได้รับการเช็คชื่อ ถามนอกเวลาที่กำหนดให้ถามจะไม่ได้รับการเช็คชื่อ ถามเกินได้ แต่ไม่เช็คชื่อเกินให้ เช็คชื่อให้แค่ บทละ ๑ ครั้งเท่านั้น และผมให้สามารถเข้ามาตั้งคำถามได้พร้อม ๆ กันครั้งละ ๔ - ๕ คน คำถามเดียวก็ได้จะเช็คชื่อให้ทุกคน
ผลตอบรับที่ได้นับว่าดี กล่าวคือ
- คนที่ต้องการถาม มีเวลาแน่นอนที่จะเข้ามาถามผม ไม่ต้องรอดูว่าผมอยู่ที่ห้องทำงานหรือเปล่า
- คนที่ไม่เคยถามเลย มีจำนวนหนึ่งที่ครั้งแรก ๆ มาถามตามเพื่อนเฉย ๆ (คือไม่ได้ตั้งคำถามเอง) พออยู่ในบรรยากาศการซักถามของเพื่อน ๆ สักพักจะเริ่มสนุกกับการถาม และครั้งต่อ ๆ มาก็สามารถตั้งคำถามเองได้ และได้เรียนรู้คุณค่าของการถาม
- เนื้อหาที่สอนในห้องเรียน แม้จะเพียงพอกับการสอบ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่อยากถ่ายทอด มีนักศึกษาที่เรียนรู้ได้เร็วจำนวนหนึ่งมาเรียนรู้เพิ่มเติมในชั่วโมงที่เปิดให้ถาม
- สุดท้ายตัวผมเองก็ได้เรียนรู้จากคำถามของนักเรียนเช่นกัน ทั้งในแง่ของตัววิชาเอง และในแง่ของการสอนว่าในชั่วโมงที่ผ่านมานั้นการสอนพลาดประเด็นสำคัญอะไรไปหรือไม่ มันจะสะท้อนออกมาในคำถามของนักศึกษานั่นเอง
2 ความคิดเห็น:
สวัสดีครับอาจารย์ กระผมนายมารุต แซ่ตั้ง เป็นศิษย์เก่าภาคไฟจบปี 2550 ได่อ่านบทความที่อาจารย์ได้เขียนนั้นรู้สึกประทับใจในตัวอาจารย์มากครับที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ได้มากที่สุด สิ่งหนึ่งที่ผมมองเห็นในบทความนี้คือคำว่า"อัตตา"ที่ไม่มีอยู่ในตัวของอาจารย์เลย อาจารย์พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้นักศึกษาจะได้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอนผมคิดว่าอาจารย์ในมหาลัยน้อยคนครับที่จะเป็นเหมือนแบบอาจารย์ สุดท้ายนี้ผมขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ในการทำงานต่อไปนะครับ
ด้วยความเคารพ
นายมารุต แซ่ตั้ง
ขอบคุณครับ
จะพยายามพัฒนาต่อไป
สิ่งหนึ่งที่ผมพบปัญหามากก็คือการยกตัวอย่างในงานจริง ผมเองทำงานทางอคูสติก จะยกตัวอย่างก็ไม่หนีจากเรื่องนี้ แต่นักเรียนอาจสนใจเรื่องอื่น ๆ ถ้ามีตัวอย่างแนวอื่นบ้าง ก็จะเป็นประโยชน์กับรุ่นน้อง ๆ
คุณมารุตเรียนวิชานี้ไปแล้ว พอจะเจองานที่จำเป็นต้องใช้ Numerical Method บ้างหรือเปล่าครับ ถ้ามีตัวอย่างงานจริง จากรุ่นพี่ น้อง ๆ น่าจะสนใจมาก
แสดงความคิดเห็น