คำถามคาใจอาจารย์คือ
- ทำไมผู้เรียนไม่อยากเรียนรู้? หรือแปลอีกอย่างหนึ่งคือ
- ถ้าไม่อยากเรียนรู้เรื่องในแนวทางนี้ เลือกเรียนสาขานี้ทำไม?
เรื่องนี้มีรุ่นพี่เท่านั้นที่ช่วยได้ เพราะอาจารย์จะรู้จริงเฉพาะที่ประสบกับตนเองเท่านั้น
ทำให้คิดได้ว่า อันที่จริงเด็ก ๆ บอกว่าตนเองอยากเป็นหมอ หรือว่าอยากเป็นวิศวกร หรือว่าอยากเป็นนักกฏหมาย หรือว่าอยากเป็นทหาร ตำรวจ ฯลฯ เขาแค่อยากแปะฉลากตัวเอง ด้วยยี่ห้อเหล่านั้น มากกว่าจะอยากทำงานในหน้าที่เหล่านั้นจริง ๆ
- เด็กบางคนบอกว่าอยากเป็นนักเขียน แต่กลับพบว่าตัวเขาไม่ได้ชอบการเขียน (บางคนไม่ได้ชอบอ่านด้วยซ้ำ) แต่ชอบชื่อเสียงที่ได้จากการเป็นนักเขียน
- เด็กบางคนบอกว่าอยากเป็นหมอ แต่กลับพบว่าตัวเขาไม่ได้ชอบรักษาคนไข้ แต่ชอบ ลาภ ยศ สรรเสริญ อันเนื่องมาจากฉลากคำว่าหมอ ที่แปะที่หน้าผากเขาเท่านั้น
- เด็กบางคนบอกว่าอยากเป็นวิศวกร แต่กลับพบว่าตัวเขาไม่ได้ชอบแก้ปัญหาเชิงช่าง ไม่ต้องพูดถึงการไม่ชอบวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคำนวณ เขาแค่คิดว่าการเป็นวิศวกรมันน่าจะเท่ และมีเงินเดือนดี โดยไม่นึกถึงว่าหน้าที่ของวิศวกรคืออะไร
แต่กับเด็กโต คือตั้งแต่ระดับมัธยมต้นขึ้นไป น่าจะได้รับคำถามว่า
โตขึ้นหนูอยากทำอะไรมากกว่าคำถามว่า
โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไรคนที่ชอบเล่นดนตรีจริง ๆ จัง ๆ จะได้ไปเรียนดนตรี คนที่ชอบการวิเคราะห์ตรรกะและธรรมศาสตร์จะได้ไปเรียนรัฐศาสตร์และกฏหมาย คนที่รักความยุติธรรมอาจจะเลือกเรียนตำรวจ คนที่ชื่นชอบเทคโนโลยีและการแก้ปัญหาเชิงช่าง จะได้เรียนวิศวกรรมศาสตร์ คนที่ชื่นชอบการวิเคราะห์ วิจัย จะได้เรียนวิทยาศาสตร์ คนที่ชอบบริการ ใจดี อาจเลือกเีรียนด้านงานบริการ หรืองานพยาบาล ฯลฯ เด็ก ๆ จะได้ค้นพบตัวเองโดยเร็วและไม่สูญเสียพรสวรรค์ของตนเองและเวลาในห้องเรียนระดับอุดมศึกษาถึง 4 ปี
ถามตนเองว่า อยากทำอะไรเพื่อเลี้ยงชีพ จะตอบตนเองได้ว่าควรจะเรียนอะไร เพื่อให้การเรียนในระดับสูงส่งเสริมความชอบและพรสวรรค์ของตนเองให้สูงที่สุด
ก่อนเข้ามาเรียน ต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ ว่าที่ว่าอยากเป็นวิศวกรนั้น อยากทำงานวิศวกรรม หรือแค่อยากมีป้ายชื่อว่าเป็นวิศวกรเฉย ๆ
1 ความคิดเห็น:
เห็นด้วยครับ
ส่วนใหญ่ก็จะตัดสินใจตามเพื่อนโดยที่ไม่ได้คิดถึงว่าสิ่งที่ตนเองอยากทำจริงๆ และไม่ได้คิดถึงความสามารถของตนเอง
แสดงความคิดเห็น