เสรีนิยมจอมปลอมคือเสรินิยมที่คนอื่น ๆ ต้อง ขบถ เหมือนกู
ถ้าไม่ขบถเหมือนกู แปลว่าเป็นพวกโง่เง่า ถูกล้างสมอง
ไม่ค่อยต่างไปจาก อนุรักษ์นิยมแบบเผด็จการความดี ซักเท่าไร
แน่นอนว่า ไม่ได้หมายความว่า เสรีนิยมทุกคน ต้องจอมปลอมเสมอไป
สมัยก่อน กลไกทางสังคม ใช้ลัทธิบูชาผี เป็นเครื่องกำกับศีลธรรม
ต่อมาวิทยาศาสตร์ทำลายลัทธิบูชาผีหมดสิ้น แต่ไม่ได้สร้างเครื่องกำกับศีลธรรมขึ้นมาใหม่
สังคมที่มันครึ่ง ๆ กลาง ๆ มันเลยวุ่นวายไปหมด
ณ เวลานั้น วิทยาศาสตร์คือ ขบถ (ณ เวลานี้ พวกที่ตำหนิวิทยาศาสตร์อย่างนั้น ก็คือ ขบถ เหมือนกัน) เมื่อใจมุ่งไปยังเป้าหมายที่ต้องการ อาจทำให้มิได้ใตร่ตรองผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากแนวคิด ขบถ ของเรา มันก็ไม่ใช่ความผิดบาปอะไร
แต่เมื่อมีบทเรียนมาแล้ว ก็ไม่อยากให้คนรุ่นใหม่ ๆ ทำผิดเหมือนคนที่งมงายในวิทยาศาสตร์เมื่อ 40 -50 ปี ที่แล้วได้กระทำมาแล้ว
บางสิ่งที่เป็นอยู่ในสังคม คือสิ่งที่ผ่านวิวัฒณาการทางสังคมมาแล้ว มันมีคุณค่าของมันอยู่ การทำลายสิ่งนั้นเพื่อตอบสนองความเชื่อ (หรือความงมงาย) ในลัทธิบางอย่างของตน อาจส่งผลต่อสังคมโดยรวมมากกว่าที่คิด
ถ้าเสรีนิยม ก็เสรีจริง ๆ อย่าเสรีปลอม ๆ ความเชื่อของท่านอาจจะถูกก็ได้ แต่ก่อนจะปักใจ อยากให้พิจารณาใตร่ตรองให้รอบคอบ สิ่งหลายสิ่ง เสียไปแล้วเสียไปเลย เรียกคืนไม่ได้
หลาย ๆ สิ่ง เมื่อเริ่มต้นแล้ว ควบคุมไม่ได้ และผลของมันอาจไม่เป็นไปอย่างที่เราคิดก็ได้ ถ้าเราไม่รอบคอบพอ
วันศุกร์, พฤศจิกายน 16, 2550
วันอังคาร, สิงหาคม 07, 2550
ภูมิใจไหม? คนไทยทำงานหนัก (เกือบ) ที่สุดในโลก !!! - ก.พ. จะเอายังไง
วันนี้อ่านมติชนรายสัปดาห์ฉบับประจำที่ 1407 ประจำวันที่ 3-9 สิงหาคม 2550 คอลัมน์กระแสคน กระแสโลก โดย ดร. ภาณุภาคย์ พงศ์อติชาต สำนักงาน ก.พ. เรื่องภูมิใจไหม? คนไทยทำงานหนัก (เกือบ) ที่สุดในโลก !!!
ได้ความว่าประเทศไทยมีสัดส่วนคนทำงานมากชั่วโมงที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกคือ ร้อยละ 46.7 ชั่วโมง ทำงานมากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รองจากอันดับหนึ่ง เปรู ร้อยละ 50.9 และ เกาหลีใต้ ร้อยละ 49.5
แล้วท่านก็ตั้งประเด็นว่า เรื่องนี้มองแง่ดีก็คือ คนไทยขยัน มองแง่ร้ายก็คือค่าจ้างของเราต่ำทำให้ต้องทำงานมาก และน่าจะส่งผลเสียหลายประการเช่น เมื่อใช้เวลาทำงานมากก็จะมีเวลาสำหรับเรื่องอื่น ๆ ในชีวิตน้อยลง ทำให้คุณภาพชีวิตตกต่ำ
แต่ผมกลับรู้สึกว่า ที่ต้องทำงานอย่างหนักหนาสาหัส (ณ เวลานี้ 00:09:00 น. และยังต้องทำงานอยู่) ส่วนหนึ่งก็เพราะไอ้การประเมิน KPI ของ ก.พ. นั่นแหละ ท่านอาจจะไม่ทราบว่า KPI ที่เราต้องเตรียมนั้นรวมกันได้ตั้ง 86 ตัวชี้วัดไล่ลงมาถึงหน่วยงานระดับเล็กที่สุดในมหาวิทยาลัย
ผมไม่ได้รังเกียจ KPI การมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนย่อมส่งผลดีต่อการพัฒนางาน แต่ตำราก็บอกว่า จำนวน KPI สำหรับหน่วยงานที่ไม่มีระบบฐานข้อมูลที่ดี ควรจะไม่เกิน 20 ตัวชี้วัด ! สำหรับหน่วยงานที่มีระบบฐานข้อมูลอย่างดี ก็ไม่ควรจะเกิน 40 ตัวชี้วัด !! เพราะถ้าเกินไปกว่านี้หน่วยงานจะต้องเสียเวลาอย่างมากในการรวบรวมข้อมูลซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานประจำ
แล้วคุณรู้ไหมว่าหน่วยงานเล็กที่สุดในมหาวิทยาลัยจะต้องเตรียมเอกสารเพื่อรับการประเมินโดยใช้ตัวชี้วัดถึง 86 ตัวชี้วัด !!!
ภาควิชาฯ น่ะ แค่เตรียม สอน วิจัย บริการวิชาการ ก็หมดเวลา 45 ชั่วโมงต่อสัปดาห์แล้ว ใน 86 ตัวชี้วัดยังเรียกร้องให้มีการทำแผน "ลดขั้นตอน" การทำงาน แผน "ประหยัดพลังงาน" อยู่เลย
เรื่องตลกของแผน "ลดขั้นตอน" ก็คือ ขั้นตอนราชการมันลดไม่ได้ครับท่าน เพราะผู้ปฏิบัติไม่มีใครกล้าทำผิดไปจากความเคยชิน ทุกคนกลัวความผิดพลาด กลัวความผิดจากระเบียบราชการทั้งนั้น
ถ้าท่านอยากลดขั้นตอน ท่านก็ออกระเบียบราชการมาให้มันมีขั้นตอนน้อย ๆ ตั้งแต่แรกสิครับ อย่ามาเรียกร้องเอากับหน่วยงานปลายทางอย่างภาควิชาอย่างนี้ เราน่ะ ท่านให้ทำอย่างไร เราก็ทำอย่างนั้นทั้งนั้นแหละ ไม่อยากแหกกฏแหกระเบียบหรอก ต่อให้ระเบียบมันงี่เง่าขนาดไหนก็ตาม
ถ้าท่านอยากให้พวกเรามีคุณภาพชีวิตดีกว่านี้ มีชั่วโมงทำงานไม่แตกต่างไปจากนานาอารยประเทศแล้วละก็ ขอแค่ท่านลดจำนวน KPI ของท่านลงบ้าง หรือคุยกับหน่วยงานอื่นที่เขาจะต้องประเมินเราบ้าง อันไหนรวมกันได้ก็รวมกันเสีย เราต้องถูกประเมินจากหลายหน่วยงาน ถ้าต้องเตรียมให้ทุกท่านมาประเมินเราได้อย่างดี ก็ต้องจัดสรรกำลังคนส่วนหนึ่งไปกับเรื่องนี้ แต่คนเราเท่าเดิมเพราะอัตราราชการมันไม่มีอีกแล้ว มันก็ทำให้เราต้องทำงานเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง
และจะช่วยได้มากยิ่งขึ้นหากท่านจะอธิบายให้แต่ละหน่วยงานมีความเข้าใจการประเมินอย่างถ่องแท้ ไม่ใช่แค่ต้องการปั่นตัวเลขเฉย ๆ ผู้ใหญ่รับงานมา ผู้น้อยมันเหนื่อย...โว้ย
ได้ความว่าประเทศไทยมีสัดส่วนคนทำงานมากชั่วโมงที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกคือ ร้อยละ 46.7 ชั่วโมง ทำงานมากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รองจากอันดับหนึ่ง เปรู ร้อยละ 50.9 และ เกาหลีใต้ ร้อยละ 49.5
แล้วท่านก็ตั้งประเด็นว่า เรื่องนี้มองแง่ดีก็คือ คนไทยขยัน มองแง่ร้ายก็คือค่าจ้างของเราต่ำทำให้ต้องทำงานมาก และน่าจะส่งผลเสียหลายประการเช่น เมื่อใช้เวลาทำงานมากก็จะมีเวลาสำหรับเรื่องอื่น ๆ ในชีวิตน้อยลง ทำให้คุณภาพชีวิตตกต่ำ
แต่ผมกลับรู้สึกว่า ที่ต้องทำงานอย่างหนักหนาสาหัส (ณ เวลานี้ 00:09:00 น. และยังต้องทำงานอยู่) ส่วนหนึ่งก็เพราะไอ้การประเมิน KPI ของ ก.พ. นั่นแหละ ท่านอาจจะไม่ทราบว่า KPI ที่เราต้องเตรียมนั้นรวมกันได้ตั้ง 86 ตัวชี้วัดไล่ลงมาถึงหน่วยงานระดับเล็กที่สุดในมหาวิทยาลัย
ผมไม่ได้รังเกียจ KPI การมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนย่อมส่งผลดีต่อการพัฒนางาน แต่ตำราก็บอกว่า จำนวน KPI สำหรับหน่วยงานที่ไม่มีระบบฐานข้อมูลที่ดี ควรจะไม่เกิน 20 ตัวชี้วัด ! สำหรับหน่วยงานที่มีระบบฐานข้อมูลอย่างดี ก็ไม่ควรจะเกิน 40 ตัวชี้วัด !! เพราะถ้าเกินไปกว่านี้หน่วยงานจะต้องเสียเวลาอย่างมากในการรวบรวมข้อมูลซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานประจำ
แล้วคุณรู้ไหมว่าหน่วยงานเล็กที่สุดในมหาวิทยาลัยจะต้องเตรียมเอกสารเพื่อรับการประเมินโดยใช้ตัวชี้วัดถึง 86 ตัวชี้วัด !!!
ภาควิชาฯ น่ะ แค่เตรียม สอน วิจัย บริการวิชาการ ก็หมดเวลา 45 ชั่วโมงต่อสัปดาห์แล้ว ใน 86 ตัวชี้วัดยังเรียกร้องให้มีการทำแผน "ลดขั้นตอน" การทำงาน แผน "ประหยัดพลังงาน" อยู่เลย
เรื่องตลกของแผน "ลดขั้นตอน" ก็คือ ขั้นตอนราชการมันลดไม่ได้ครับท่าน เพราะผู้ปฏิบัติไม่มีใครกล้าทำผิดไปจากความเคยชิน ทุกคนกลัวความผิดพลาด กลัวความผิดจากระเบียบราชการทั้งนั้น
ถ้าท่านอยากลดขั้นตอน ท่านก็ออกระเบียบราชการมาให้มันมีขั้นตอนน้อย ๆ ตั้งแต่แรกสิครับ อย่ามาเรียกร้องเอากับหน่วยงานปลายทางอย่างภาควิชาอย่างนี้ เราน่ะ ท่านให้ทำอย่างไร เราก็ทำอย่างนั้นทั้งนั้นแหละ ไม่อยากแหกกฏแหกระเบียบหรอก ต่อให้ระเบียบมันงี่เง่าขนาดไหนก็ตาม
ถ้าท่านอยากให้พวกเรามีคุณภาพชีวิตดีกว่านี้ มีชั่วโมงทำงานไม่แตกต่างไปจากนานาอารยประเทศแล้วละก็ ขอแค่ท่านลดจำนวน KPI ของท่านลงบ้าง หรือคุยกับหน่วยงานอื่นที่เขาจะต้องประเมินเราบ้าง อันไหนรวมกันได้ก็รวมกันเสีย เราต้องถูกประเมินจากหลายหน่วยงาน ถ้าต้องเตรียมให้ทุกท่านมาประเมินเราได้อย่างดี ก็ต้องจัดสรรกำลังคนส่วนหนึ่งไปกับเรื่องนี้ แต่คนเราเท่าเดิมเพราะอัตราราชการมันไม่มีอีกแล้ว มันก็ทำให้เราต้องทำงานเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง
และจะช่วยได้มากยิ่งขึ้นหากท่านจะอธิบายให้แต่ละหน่วยงานมีความเข้าใจการประเมินอย่างถ่องแท้ ไม่ใช่แค่ต้องการปั่นตัวเลขเฉย ๆ ผู้ใหญ่รับงานมา ผู้น้อยมันเหนื่อย...โว้ย
วันพุธ, มิถุนายน 13, 2550
โทษคนอื่นมันง่าย
วันนี้มีปัญหาที่ทำงาน ใจหนึ่งก็นึกโกรธเพื่อนร่วมงานและลูกน้องที่ทำงานผิดพลาด (มีคำอื่นแทนคำว่าลูกน้องไหม?) นึกว่าทำไมถึงได้ฉลาดน้อยนัก (ตอนที่นึกนั้นใช้อีกคำหนึ่ง)
แต่นึกถึงประโยคหนึ่งได้จากหนังสืออะไรสักเล่ม เขาบอกว่า
เจ้านายที่โทษว่าลูกน้องโง่จึงทำให้งานล้มเหลว เป็นเจ้านายที่โง่มากจริง ๆ
ก็เลยกลับมามองตัวเอง เห็นจริงดังที่เขาว่ากันว่า โทษคนอื่นมันง่าย ก็ต้องอโหสิกรรมท่านทั้งหลายไว้ ณ ที่นี้ด้วย
แต่นึกถึงประโยคหนึ่งได้จากหนังสืออะไรสักเล่ม เขาบอกว่า
เจ้านายที่โทษว่าลูกน้องโง่จึงทำให้งานล้มเหลว เป็นเจ้านายที่โง่มากจริง ๆ
ก็เลยกลับมามองตัวเอง เห็นจริงดังที่เขาว่ากันว่า โทษคนอื่นมันง่าย ก็ต้องอโหสิกรรมท่านทั้งหลายไว้ ณ ที่นี้ด้วย
วันศุกร์, มิถุนายน 08, 2550
เหตุผลคือสิ่งที่ไม่มีเหตุผล
เมื่อสองวันก่อนได้อ่านคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ซึ่งคอลัมนิสต์ท่านสามารถหากเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของท่านได้ทุกเรื่อง ไม่ว่ามันจะไร้เหตุผลเท่าไรก็ตาม
ท่านว่าตำรวจดูจะเข้มงวดกับความผิดกฏจราจรมากไปซักหน่อยแล้ว โจรมีทำไมไม่จับ มาจับประชาชน (ที่ทำผิดกฏหมาย) ทำไม?
ถ้าจำไม่ผิดหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันเคยหาเหตุผลมาสนับสนุน คาสิโน ในประเทศได้ หนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันเคยหาเหตุผลมาคัดค้าน คาสิโนในประเทศได้ แล้วแต่ว่าเวลานั้น ๆ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นต้องการอะไร
เอาเข้าจริงแล้ว หากค้นดูดี ๆ ดีไม่ดีอาจจะค้นเจอว่าหนังสือพิมพ์ฉบับเดิมอาจเคยให้เหตุผลตำหนิตำรวจที่ไม่ จับคนที่ทำผิดกฏจราจรมาแล้วก็ได้
ทำให้ผมตระหนักถึงข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่า อันที่จริงแล้วเหตุผลคือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ที่ว่าคุยกันด้วยเหตุด้วยผลนั้น ก็คือใครพูดเก่งกว่า ทำให้คนเชื่อได้มากกว่า พูดได้ดูดีกว่าเท่านั้นเอง เพราะในเมื่อเรื่องราวในโลกนี้ไม่ใช่ขาวดำ เหตุผลจึงมาตัดสินไม่ได้ว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก
ที่ใกล้ตัวหน่อยก็เรื่องรัฐธรรมนูญ คนที่อยากให้ผ่านก็มีเหตุผล คนที่ไม่อยากให้ผ่านก็มีเหตุผล ทุก ๆ คนมีเหตุผลกันหมด ในบางกรณีก็ว่าอีกฝ่ายไม่คุยกันด้วยเหตุด้วยผลเมื่อเขาแสดงเหตุผลของเขาออกมา
รุ่นพี่แนะนำว่าอย่าไปยึดติดกับเหตุผลนักเลย ท่านให้ยึดธรรมนำหน้า เป็นธรรม หรือไม่เป็นธรรม มันชัดเจนกว่าเหตุผลเยอะ
เขียนไปเขียนมาก็งงเอง เอาเป็นว่าอยากบันทึกไว้ว่าอย่าไปเชื่อสิ่งที่เรียกว่าเหตุผลนัก อยู่ที่ว่าใครพูด แล้วเขาต้องการอะไร ถ้าเขาต้องการมาก ๆ เขาก็หาเหตุผลมารองรับได้ทั้งนั้นแหละ
เด็ก ๆ บางคนทุจริตในการสอบ ยังมีเหตุผลอ้างว่าสิ่งที่ตนทำนั้นถูกต้องเลย
ท่านว่าตำรวจดูจะเข้มงวดกับความผิดกฏจราจรมากไปซักหน่อยแล้ว โจรมีทำไมไม่จับ มาจับประชาชน (ที่ทำผิดกฏหมาย) ทำไม?
ถ้าจำไม่ผิดหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันเคยหาเหตุผลมาสนับสนุน คาสิโน ในประเทศได้ หนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันเคยหาเหตุผลมาคัดค้าน คาสิโนในประเทศได้ แล้วแต่ว่าเวลานั้น ๆ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นต้องการอะไร
เอาเข้าจริงแล้ว หากค้นดูดี ๆ ดีไม่ดีอาจจะค้นเจอว่าหนังสือพิมพ์ฉบับเดิมอาจเคยให้เหตุผลตำหนิตำรวจที่ไม่ จับคนที่ทำผิดกฏจราจรมาแล้วก็ได้
ทำให้ผมตระหนักถึงข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่า อันที่จริงแล้วเหตุผลคือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ที่ว่าคุยกันด้วยเหตุด้วยผลนั้น ก็คือใครพูดเก่งกว่า ทำให้คนเชื่อได้มากกว่า พูดได้ดูดีกว่าเท่านั้นเอง เพราะในเมื่อเรื่องราวในโลกนี้ไม่ใช่ขาวดำ เหตุผลจึงมาตัดสินไม่ได้ว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก
ที่ใกล้ตัวหน่อยก็เรื่องรัฐธรรมนูญ คนที่อยากให้ผ่านก็มีเหตุผล คนที่ไม่อยากให้ผ่านก็มีเหตุผล ทุก ๆ คนมีเหตุผลกันหมด ในบางกรณีก็ว่าอีกฝ่ายไม่คุยกันด้วยเหตุด้วยผลเมื่อเขาแสดงเหตุผลของเขาออกมา
รุ่นพี่แนะนำว่าอย่าไปยึดติดกับเหตุผลนักเลย ท่านให้ยึดธรรมนำหน้า เป็นธรรม หรือไม่เป็นธรรม มันชัดเจนกว่าเหตุผลเยอะ
เขียนไปเขียนมาก็งงเอง เอาเป็นว่าอยากบันทึกไว้ว่าอย่าไปเชื่อสิ่งที่เรียกว่าเหตุผลนัก อยู่ที่ว่าใครพูด แล้วเขาต้องการอะไร ถ้าเขาต้องการมาก ๆ เขาก็หาเหตุผลมารองรับได้ทั้งนั้นแหละ
เด็ก ๆ บางคนทุจริตในการสอบ ยังมีเหตุผลอ้างว่าสิ่งที่ตนทำนั้นถูกต้องเลย
วันจันทร์, พฤษภาคม 21, 2550
ความคาดหวังจากภาคธุรกิจต่อมหาวิทยาลัย -- มากไปไหม?
เมื่อสักหลายเดือนที่ผ่านมา ได้มีโอกาสคุยกับตัวแทนของภาครัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริมเศรษฐกิจท่านหนึ่ง โดยที่ท่านเป็นผู้ที่เคยทำงานในภาคธุรกิจมาก่อน
ท่านบอกว่ามหาวิทยาลัยต้องผลิตบัณฑิตที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ ซึ่งเราเองก็ไม่ขัดข้องคัดค้านท่านในประเด็นนี้
แต่ดูเหมือนท่านคาดหวังว่านักศึกษาจบใหม่ ๆ จะต้องสามารถทำงานได้ทันที รู้จักเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในโรงงานทันที ไม่ต้องให้มีคนสอน ผมก็ว่าท่านคาดหวังผิด และคาดหวังสูงไปสักหน่อย
ที่ว่าผิดคือผมคิดว่า มหาวิทยาลัยไม่ได้มีหน้าที่ รับใช้ ภาคธุรกิจ พอโรงงานของท่านใช้โปรแกรม ก. ไก่ นักศึกษาของเราก็ต้องใช้โปรแกรม ก. ไก่ เป็น พอโรงงานของท่านใช้โปรแกรม ข. ไข่ นักศึกษาของเราก็ต้องใช้โปรแกรม ข. ไข่ เป็น ไม่ต้องพูดถึงว่าภาคธุรกิจของท่านเคยตอบแทนอะไรให้สังคม หรือแม้แต่แบ่งปันอะไรให้มหาวิทยาลัยบ้าง
ผมเชื่อว่ามหาวิทยาลัยมีหน้าที่ รับใช้สังคม เราต้องการผลิตบัณฑิตที่ คิดเป็น มากกว่าบัณฑิตที่ใช้โปรแกรมนั้น โปรแกรมนี้เป็น เพราะผมเชื่อว่าหากบัณฑิตมีพื้นฐานที่ดีแล้ว และคิดเป็นแล้ว ไม่ว่าโรงงานจะใช้โปรแกรมอะไรทำงาน บัณฑิตของเราก็สามารถเรียนรู้และทำงานกับระบบนั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
ผมลองนึกย้อนดูว่า สมัยผมเรียนวิชา Computer Programming ซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานสมัยผมเรียนระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเขาใช้ภาษา Fortran สอน ปัจจุบันงานของผมใช้ PHP เป็นหลักซึ่งไม่ได้มีสอนในสมัยนั้น ผมก็สามารถเรียนรู้ได้ เพราะหลักการใหญ่ ๆ มันเหมือนกัน แล้วการเรียนรู้ PHP ที่ว่านี้ก็เกิดขึ้นในที่ทำงาน
บางท่านยกตัวอย่าง 7-11 ที่ผลิตบัณฑิตตรงตามความต้องการของตัวเอง ผมก็ต้องถามกลับเหมือนกันว่า ก็นั่น 7-11 ลงทุนเอง มันก็ไม่แปลกตรงไหน แต่หากฝ่ายธุรกิจอื่นต้องการบัณฑิตสำเร็จรูปขนาดนั้น ต้องถามกลับไปด้วยว่า แล้วท่านให้อะไรกับฝ่ายการศึกษาบ้างถึงได้คาดหวังผลสำเร็จรูปสูงขนาดนั้น
แต่ก็เป็นความเห็นของผมคนเดียว ผมคิดว่ามันคงพิลึกดีที่จะต้องสอนนักศึกษาถึง ระบบใดระบบหนึ่งให้เชี่ยวชาญเป็นการเฉพาะ เพื่อตอบสนองบริษัทบางบริษัท ทั้ง ๆ ที่ในตลาดมีให้เลือกหลายระบบ และในประวัติศาสตร์ก็มีวิวัฒนาการมาหลายระบบ แทนที่จะสอนให้นักศึกษารู้จัก และเข้าใจหลักการใหญ่ของระบบ ประเภท นั้น ๆ แล้วมีศักยภาพที่จะไปเรียนรู้ระบบใด ๆ ในประเภทนั้น ๆ ก็ได้
ท่านบอกว่ามหาวิทยาลัยต้องผลิตบัณฑิตที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ ซึ่งเราเองก็ไม่ขัดข้องคัดค้านท่านในประเด็นนี้
แต่ดูเหมือนท่านคาดหวังว่านักศึกษาจบใหม่ ๆ จะต้องสามารถทำงานได้ทันที รู้จักเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในโรงงานทันที ไม่ต้องให้มีคนสอน ผมก็ว่าท่านคาดหวังผิด และคาดหวังสูงไปสักหน่อย
ที่ว่าผิดคือผมคิดว่า มหาวิทยาลัยไม่ได้มีหน้าที่ รับใช้ ภาคธุรกิจ พอโรงงานของท่านใช้โปรแกรม ก. ไก่ นักศึกษาของเราก็ต้องใช้โปรแกรม ก. ไก่ เป็น พอโรงงานของท่านใช้โปรแกรม ข. ไข่ นักศึกษาของเราก็ต้องใช้โปรแกรม ข. ไข่ เป็น ไม่ต้องพูดถึงว่าภาคธุรกิจของท่านเคยตอบแทนอะไรให้สังคม หรือแม้แต่แบ่งปันอะไรให้มหาวิทยาลัยบ้าง
ผมเชื่อว่ามหาวิทยาลัยมีหน้าที่ รับใช้สังคม เราต้องการผลิตบัณฑิตที่ คิดเป็น มากกว่าบัณฑิตที่ใช้โปรแกรมนั้น โปรแกรมนี้เป็น เพราะผมเชื่อว่าหากบัณฑิตมีพื้นฐานที่ดีแล้ว และคิดเป็นแล้ว ไม่ว่าโรงงานจะใช้โปรแกรมอะไรทำงาน บัณฑิตของเราก็สามารถเรียนรู้และทำงานกับระบบนั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
ผมลองนึกย้อนดูว่า สมัยผมเรียนวิชา Computer Programming ซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานสมัยผมเรียนระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเขาใช้ภาษา Fortran สอน ปัจจุบันงานของผมใช้ PHP เป็นหลักซึ่งไม่ได้มีสอนในสมัยนั้น ผมก็สามารถเรียนรู้ได้ เพราะหลักการใหญ่ ๆ มันเหมือนกัน แล้วการเรียนรู้ PHP ที่ว่านี้ก็เกิดขึ้นในที่ทำงาน
บางท่านยกตัวอย่าง 7-11 ที่ผลิตบัณฑิตตรงตามความต้องการของตัวเอง ผมก็ต้องถามกลับเหมือนกันว่า ก็นั่น 7-11 ลงทุนเอง มันก็ไม่แปลกตรงไหน แต่หากฝ่ายธุรกิจอื่นต้องการบัณฑิตสำเร็จรูปขนาดนั้น ต้องถามกลับไปด้วยว่า แล้วท่านให้อะไรกับฝ่ายการศึกษาบ้างถึงได้คาดหวังผลสำเร็จรูปสูงขนาดนั้น
แต่ก็เป็นความเห็นของผมคนเดียว ผมคิดว่ามันคงพิลึกดีที่จะต้องสอนนักศึกษาถึง ระบบใดระบบหนึ่งให้เชี่ยวชาญเป็นการเฉพาะ เพื่อตอบสนองบริษัทบางบริษัท ทั้ง ๆ ที่ในตลาดมีให้เลือกหลายระบบ และในประวัติศาสตร์ก็มีวิวัฒนาการมาหลายระบบ แทนที่จะสอนให้นักศึกษารู้จัก และเข้าใจหลักการใหญ่ของระบบ ประเภท นั้น ๆ แล้วมีศักยภาพที่จะไปเรียนรู้ระบบใด ๆ ในประเภทนั้น ๆ ก็ได้
วันพุธ, มกราคม 17, 2550
กองทัพมีหลายทัพ หน้าที่ต่างกัน
กองทัพประกอบด้วยทัพน้อยหลายทัพ แต่ละทัพมีหน้าที่ต่างกัน ฉันใด
การทำงาน ก็ประกอบด้วยคนหลายฝ่าย มีหน้าที่ต่างกัน ฉันนั้น
ด้วยความที่คนมีหลายประเภท เช่น คนที่มีอุปนิสัยเชิงรุก คนที่มีอุปนิสัยเชิงรับ เป็นต้น คนเหล่านั้ก็รับหน้าที่ต่าง ๆ กัน
เพราะฉะนั้น คนบางคน ทำงานบางอย่าง แล้วเห็นคน ๆ อื่น ไม่ได้ทำงานที่เหมือนกัน ไม่ได้แปลว่าเขาไม่ได้ทำงาน หรือ ว่าเขาไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณทำ เพียงแต่หน้าที่เขามันเน้นส่วนอื่นเท่านั้นเอง
เช่นถ้าคุณเป็นคนมีนิสัยเชิงรุก คุณลุยไปข้างหน้า คุณอย่าลืมว่าคุณต้องอาศัยคนที่มีนิสัยเชิงรับ คอยคุมกันอยู่ หรือคุณต้องอาศัยคนที่มีนิสัยละเอียด คอยเก็บรายละเอียดให้คุณ เพราะการลุยไปข้างหน้าบางทีมันเก็บรายละเอียดไม่หมด
บางคนเหมือนกองเสบียง เขาก็เตรียมอาหาร เตรียมเครื่องไม้เครื่องมือ เตรียมอาวุธให้คุณ แค่นั้นเขาก็ยุ่งจะตายแล้ว ถ้าคุณไม่เห็นคุณค่าของงานของเขา แล้วเอาแต่ลุยไปข้างหน้า คนอื่นตามไม่ทัน เก็บรายละเอียดให้ไม่ทัน มันก็เดือดร้อนกันไปหมด
บางทีเราก็เห็นความตั้งใจดีของคุณเหมือนกัน ที่อยากจะเดินไปข้างหน้าไว ๆ แต่ขอให้เห็นหัวเห็นหางกองหลัง กองเสบียงอย่างเราบ้าง เราตามไม่ทันจริง ๆ
ยิ่งคุณรุกไปข้างหน้ามากเท่าไร งานที่เราต้องคอยเก็บให้คุณก็มีมากเท่านั้น การเก็บรายละเอียด กับการลุยไปข้างหน้า ใช้ทักษะต่างกัน และต้องการเวลาไม่เท่ากัน ขอให้เข้าใจด้วย
การทำงาน ก็ประกอบด้วยคนหลายฝ่าย มีหน้าที่ต่างกัน ฉันนั้น
ด้วยความที่คนมีหลายประเภท เช่น คนที่มีอุปนิสัยเชิงรุก คนที่มีอุปนิสัยเชิงรับ เป็นต้น คนเหล่านั้ก็รับหน้าที่ต่าง ๆ กัน
เพราะฉะนั้น คนบางคน ทำงานบางอย่าง แล้วเห็นคน ๆ อื่น ไม่ได้ทำงานที่เหมือนกัน ไม่ได้แปลว่าเขาไม่ได้ทำงาน หรือ ว่าเขาไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณทำ เพียงแต่หน้าที่เขามันเน้นส่วนอื่นเท่านั้นเอง
เช่นถ้าคุณเป็นคนมีนิสัยเชิงรุก คุณลุยไปข้างหน้า คุณอย่าลืมว่าคุณต้องอาศัยคนที่มีนิสัยเชิงรับ คอยคุมกันอยู่ หรือคุณต้องอาศัยคนที่มีนิสัยละเอียด คอยเก็บรายละเอียดให้คุณ เพราะการลุยไปข้างหน้าบางทีมันเก็บรายละเอียดไม่หมด
บางคนเหมือนกองเสบียง เขาก็เตรียมอาหาร เตรียมเครื่องไม้เครื่องมือ เตรียมอาวุธให้คุณ แค่นั้นเขาก็ยุ่งจะตายแล้ว ถ้าคุณไม่เห็นคุณค่าของงานของเขา แล้วเอาแต่ลุยไปข้างหน้า คนอื่นตามไม่ทัน เก็บรายละเอียดให้ไม่ทัน มันก็เดือดร้อนกันไปหมด
บางทีเราก็เห็นความตั้งใจดีของคุณเหมือนกัน ที่อยากจะเดินไปข้างหน้าไว ๆ แต่ขอให้เห็นหัวเห็นหางกองหลัง กองเสบียงอย่างเราบ้าง เราตามไม่ทันจริง ๆ
ยิ่งคุณรุกไปข้างหน้ามากเท่าไร งานที่เราต้องคอยเก็บให้คุณก็มีมากเท่านั้น การเก็บรายละเอียด กับการลุยไปข้างหน้า ใช้ทักษะต่างกัน และต้องการเวลาไม่เท่ากัน ขอให้เข้าใจด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)