เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา (ตุลาคม 2559) ได้อ่านหนังสือ เทคนิคการสรุปทุกอย่างลงใน [กระดาษแผ่นเดียว] ที่ฉันได้เรียนรู้มาจากโตโยต้า เขียนโดย อะซะดะ ซุงุรุ แปลโดย ภาณุพันธ์ ปัญญาใจ สำนักพิมพ์วีเลิร์ณ
เมื่อทดลองทำตามวิธีการที่นำเสนอในหนังสือ โดยผมได้ทดลองให้คำแนะนำนักศึกษาให้นำเสนองานแก่ผมโดยใช้เทคนิคกระดาษแผ่นเดียว ก็พบว่าใช้การได้ดี
จุดที่เตะตาผมอย่างหนึ่งก็คือ เขาเน้นให้เขียนกระดาษที่ว่านี้ด้วยมือ ไม่ใช่ด้วยคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนหรืออุปกรณ์ไฮเทคอื่น ๆ ผมคล้อยตาม แต่ก็สงสัยว่าทำไม หนังสือเองก็ให้เหตุผลไว้สั้น ๆ ว่าถ้ายังไม่ชินก็ควรเขียนด้วยมือไปก่อน และมันช่วยให้สมองทำงานอย่างเป็นระบบ แต่ก็ไม่อธิบายเพิ่มว่าทำไม
ที่คล้อยตามเพราะผมสังเกตตนเองพบว่าถ้านั่งหน้าคอมพิวเตอร์ มักจะได้งานสร้างสรรค์น้อย ได้งานธุรการเยอะ แต่ถ้านั่งหน้าโต๊ะทำงานพร้อมกระดาษปากกาในมือ จะได้งานสร้างสรรค์เยอะ แต่ก็ทำงานธุรการได้น้อย คิดว่าเครื่องมือที่อยู่ตรงหน้ามีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้สมองทำงานคนละส่วนกัน
อีกจุดหนึ่งที่นำมาใช้ประโยชน์นอกเหนือจากการนำเสนอคือใช้เรียบเรียงความคิดครับ บางวันมีงานต้องทำมาก งานเล็กงานน้อยจุกจิกเยอะไปหมด ใช้เทคนิคที่แสดงในหนังสือเล่มนี้ช่วยให้จัดลำดับความสำคัญของงานได้ดีมาก ๆ ที่ยังไม่ได้ลองคือใช้ควบคุมการประชุมได้ด้วย!
ถ้าจะมีข้อเสีย ก็นับว่าเล็กน้อยคือ ผู้เขียนบรรยายเยิ่นเย้อไปสักหน่อย แต่ถ้ามองว่ามันเป็นหนังสือแนว How-To เขียนละเอียดก็ครอบคลุมผู้อ่านได้ทุกระดับก็พอจะมองข้ามจุดนี้ไปได้ ราคาหนังสือ 175 บาท สำหรับผมที่นำเทคนิคมาใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ ก็ถือว่าเป็นค่าวิชา นับว่าคุ้มครับ
Thoughts
บันทึกความคิดเพื่อระบายความเครียด
วันอาทิตย์, มกราคม 08, 2560
วันจันทร์, มกราคม 25, 2559
ปีแห่งการฝึกสมาธิ
ปีที่แล้วทั้งปีไม่ได้เขียนบันทึกเลย
ส่วนหนึ่งคือต้องรับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งตลกมากเพราะปริมาณงานประกันฯ เยอะและซับซ้อนสับสนจนกระทั่งต้องขอเลื่อนการสอนรายวิชาหนึ่งออกไป 1 ภาคการศึกษา
พูดสั้น ๆ ว่ามาทำการประกันว่านักศึกษาจะได้รับคุณภาพงานสอนที่ดีจนกระทั่งไม่ได้สอนนั่นแหละ (ฮาไม่ออก)
บางคนที่เห็นชอบกับงานประกันก็อาจแปลกใจว่ามันไม่น่าจะยากขนาดนั้น อืม...เอางี้นะ สมมติว่ามันไม่ยากจริง ๆ นั่นแหละ แต่ผมไม่เก่งไง แล้วคนเก่ง ๆ เขาก็ไม่มาทำหรอก งานแบบนี้น่ะ เรื่องประกันนี่อยากจะเขียนต่างหากไว้เมื่อความคิดตกตะกอนกว่านี้อีกสักหน่อย
อีกส่วนหนึ่งคือปีที่แล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ได้มีโอกาสไปเป็นนักศึกษาในหลักสูตรครูสมาธิของสถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขา 78 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในรุ่นที่ 36 ชื่อรุ่นว่าฉัตติงสโม โชติกาล (ยุคที่รุ่งเรือง)
สาเหตุที่ทำให้ไปสมัครเรียนก็คือ ผมรู้คุณประโยชน์ของสมาธิมาตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนตัวน้อย ๆ แล้ว แต่ไม่เคยฝึก ไม่เคยปฏิบัติ นาน ๆ เข้าวัดสักทีก็แค่ทำบุญใส่ซอง ถ้านั่งสมาธิเองก็นั่งแบบงู ๆ ปลา ๆ ไม่มีหลัก ในช่วงชีวิตการทำงานที่ผ่านมาก็ตั้งใจมาตลอดว่าอยากจะไปวัด ไปฝึก ไปเรียน ไปหัดให้มันเป็น มันจะได้รู้ว่าเป็นยังไงและจะได้ไม่รู้สึกเสียชาติเกิดว่าเป็นชาวพุทธทั้งที ทำสมาธิไม่เป็น
ทุกครั้งที่จะไปวัดก็กลัว กลัวคุยกับพระผิด กลัวจะทำอะไรเปิ่น ๆ กลัวทำผิดแล้วจะบาป บางทีก็ไม่มีเวลา แต่ช่วงต้นปีที่แล้วตอนที่เห็นประกาศรับสมัครของสถาบันนั้น ใจก็คิดเลยว่า
การเรียนสมาธิใช้เวลาก็จริง แต่เวลาที่เอาไปใช้นั้นเป็นเวลาที่ไม่รบกวนหน้าที่หลักของเราจริง ๆ เท่าไร ไม่ว่าจะเป็นในฐานะลูก ในฐานะสามี ในฐานะอาจารย์ เช่นเวลาที่มาเขียน Blog เวลาทำงานพิเศษ เวลาทำงานอดิเรก เวลาดูหนังซีรีส์ตอนเย็น ซึ่งหายไปก็ไม่เดือดร้อน
ช่วงที่เรียนอยู่นั้นจึงให้โอกาสตนเองได้ฝึกจิตอย่างเต็มที่
เมื่อจบหลักสูตรแล้วก็ได้อาสาช่วยงานของสถาบันต่อไปอีกระยะหนึ่ง เท่ากับว่าให้โอกาสตนเองได้ตอบแทนพระคุณครูบาอาจารย์โดยการช่วยงานท่าน ได้ฟังท่านสอนและก็ได้โอกาสฝึกสมาธิเพิ่มเติมไปในตัวด้วย ก็เป็นเหตุให้ไม่ได้บันทึก Blog ไว้เลยทั้งปี
เรียนแล้วได้อะไร?
บางคนคิดว่าเรียนสมาธิแล้วต้องกลายเป็นชาววัด ต้องบรรลุธรรม ต้องทิ้งการทิ้งงาน อันที่จริงก็ไม่ใช่ ผมเองเรียนจบแล้วก็ยังเป็นชาวบ้านแค่ใกล้วัดเข้ามาอีกหน่อยเท่านั้น ยังไม่บรรลุธรรมแหง ๆ แต่ทุกครั้งที่ทำสมาธิก็คือว่าได้สร้างปัจจัยที่จะช่วยให้บรรลุธรรมสะสมไว้ (เรียกว่าหยอดกระปุก) ไม่ทิ้งการทิ้งงาน แต่รู้จักบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองดีขึ้น (ทำให้มีทุกข์น้อยลงด้วย)
ที่ดีที่สุดสำหรับผมก็คือจากคนที่นั่งสมาธิไม่เป็น นั่งไม่ได้ นั่งแล้วจะเหน็บกิน ตอนนี้ก็ไม่กินแล้ว แต่ก่อนนั่งแล้วจะกระสับกระส่ายตอนนี้ก็อยู่นิ่ง ๆ ได้เป็นนานสองนาน ตอนนี้ก็เริ่มรู้สึกว่าการนั่งสมาธิเป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่งไปแล้ว เป็นสิ่งที่ทำได้ทุกวันเหมือนการกินข้าว การอาบน้ำ การนอนหลับพักผ่อน ไม่ใช่เฉพาะวันที่จะเข้าวัดหรือเฉพาะวันพระเท่านั้น
ที่สำคัญคือสังเกตได้ว่าจิตใจมั่นคงดีขึ้นพอสมควร แม้เรื่องประกันคุณภาพการศึกษาและเรื่องอื่น ๆ จะรบกวนชีวิตอยู่มากเหมือนเดิม แต่ก็รบกวนจิตใจเราได้น้อยลง ทำให้รู้สึกว่าต้องบ่นน้อยลง รำคาญตัวเองน้อยลง แค่เท่าที่ได้ในปัจจุบันชาตินี้ก็คุ้มแล้ว
หากท่านใดได้อ่านบันทึกนี้แล้วเกิดความสนใจว่าหลักสูตรครูสมาธิของสถาบันพลังจิตตานุภาพสอนอะไร ขอให้ไปลองเรียนด้วยตนเองจะดีที่สุด เพราะเล่าไปบางคนก็จะคาดหวังไปเปะปะ ความวิเศษของหลักสูตรนี้อยู่ที่ความธรรมดาของมันนั่นแหละ มันไม่มีอะไรพิสดารหรอก แต่มันได้ผล อย่างน้อยก็กับผมและเพื่อนร่วมรุ่นทุกคน
ถ้าใครจะไปผมก็ขออนุโมทนาด้วยครับ - สวัสดี
ส่วนหนึ่งคือต้องรับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งตลกมากเพราะปริมาณงานประกันฯ เยอะและซับซ้อนสับสนจนกระทั่งต้องขอเลื่อนการสอนรายวิชาหนึ่งออกไป 1 ภาคการศึกษา
พูดสั้น ๆ ว่ามาทำการประกันว่านักศึกษาจะได้รับคุณภาพงานสอนที่ดีจนกระทั่งไม่ได้สอนนั่นแหละ (ฮาไม่ออก)
บางคนที่เห็นชอบกับงานประกันก็อาจแปลกใจว่ามันไม่น่าจะยากขนาดนั้น อืม...เอางี้นะ สมมติว่ามันไม่ยากจริง ๆ นั่นแหละ แต่ผมไม่เก่งไง แล้วคนเก่ง ๆ เขาก็ไม่มาทำหรอก งานแบบนี้น่ะ เรื่องประกันนี่อยากจะเขียนต่างหากไว้เมื่อความคิดตกตะกอนกว่านี้อีกสักหน่อย
อีกส่วนหนึ่งคือปีที่แล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ได้มีโอกาสไปเป็นนักศึกษาในหลักสูตรครูสมาธิของสถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขา 78 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในรุ่นที่ 36 ชื่อรุ่นว่าฉัตติงสโม โชติกาล (ยุคที่รุ่งเรือง)
สาเหตุที่ทำให้ไปสมัครเรียนก็คือ ผมรู้คุณประโยชน์ของสมาธิมาตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนตัวน้อย ๆ แล้ว แต่ไม่เคยฝึก ไม่เคยปฏิบัติ นาน ๆ เข้าวัดสักทีก็แค่ทำบุญใส่ซอง ถ้านั่งสมาธิเองก็นั่งแบบงู ๆ ปลา ๆ ไม่มีหลัก ในช่วงชีวิตการทำงานที่ผ่านมาก็ตั้งใจมาตลอดว่าอยากจะไปวัด ไปฝึก ไปเรียน ไปหัดให้มันเป็น มันจะได้รู้ว่าเป็นยังไงและจะได้ไม่รู้สึกเสียชาติเกิดว่าเป็นชาวพุทธทั้งที ทำสมาธิไม่เป็น
ทุกครั้งที่จะไปวัดก็กลัว กลัวคุยกับพระผิด กลัวจะทำอะไรเปิ่น ๆ กลัวทำผิดแล้วจะบาป บางทีก็ไม่มีเวลา แต่ช่วงต้นปีที่แล้วตอนที่เห็นประกาศรับสมัครของสถาบันนั้น ใจก็คิดเลยว่า
"นี่ครูบาอาจารย์เขามาถึงที่แล้ว อำนวยความสะดวกให้ขนาดนี้ ถ้าไม่ไปเรียนอีกต่อไปก็ไม่ต้องพูดแล้วว่าอยากเรียน แต่เรียนไม่ได้เพราะติดนั่นติดนี่"แม้จะเรียกชื่อหลักสูตรว่าครูสมาธิ แต่คนสำคัญที่สุดที่เราต้องสอนเขาก็คือตัวเอง พูดง่าย ๆ ว่าเรียนไปเพื่อเป็นครูของตัวเองนั่นแหละ สำหรับการเรียนสมาธิที่สาขา 78 จะเป็นการเรียนในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 18:00 - 20:30 น. ซึ่งเหมาะกับคนทำงานกินเงินเดือนอย่างเรามาก ๆ การเรียนจะใช้เวลาราว 4-5 เดือน
การเรียนสมาธิใช้เวลาก็จริง แต่เวลาที่เอาไปใช้นั้นเป็นเวลาที่ไม่รบกวนหน้าที่หลักของเราจริง ๆ เท่าไร ไม่ว่าจะเป็นในฐานะลูก ในฐานะสามี ในฐานะอาจารย์ เช่นเวลาที่มาเขียน Blog เวลาทำงานพิเศษ เวลาทำงานอดิเรก เวลาดูหนังซีรีส์ตอนเย็น ซึ่งหายไปก็ไม่เดือดร้อน
ช่วงที่เรียนอยู่นั้นจึงให้โอกาสตนเองได้ฝึกจิตอย่างเต็มที่
เมื่อจบหลักสูตรแล้วก็ได้อาสาช่วยงานของสถาบันต่อไปอีกระยะหนึ่ง เท่ากับว่าให้โอกาสตนเองได้ตอบแทนพระคุณครูบาอาจารย์โดยการช่วยงานท่าน ได้ฟังท่านสอนและก็ได้โอกาสฝึกสมาธิเพิ่มเติมไปในตัวด้วย ก็เป็นเหตุให้ไม่ได้บันทึก Blog ไว้เลยทั้งปี
เรียนแล้วได้อะไร?
บางคนคิดว่าเรียนสมาธิแล้วต้องกลายเป็นชาววัด ต้องบรรลุธรรม ต้องทิ้งการทิ้งงาน อันที่จริงก็ไม่ใช่ ผมเองเรียนจบแล้วก็ยังเป็นชาวบ้านแค่ใกล้วัดเข้ามาอีกหน่อยเท่านั้น ยังไม่บรรลุธรรมแหง ๆ แต่ทุกครั้งที่ทำสมาธิก็คือว่าได้สร้างปัจจัยที่จะช่วยให้บรรลุธรรมสะสมไว้ (เรียกว่าหยอดกระปุก) ไม่ทิ้งการทิ้งงาน แต่รู้จักบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองดีขึ้น (ทำให้มีทุกข์น้อยลงด้วย)
ที่ดีที่สุดสำหรับผมก็คือจากคนที่นั่งสมาธิไม่เป็น นั่งไม่ได้ นั่งแล้วจะเหน็บกิน ตอนนี้ก็ไม่กินแล้ว แต่ก่อนนั่งแล้วจะกระสับกระส่ายตอนนี้ก็อยู่นิ่ง ๆ ได้เป็นนานสองนาน ตอนนี้ก็เริ่มรู้สึกว่าการนั่งสมาธิเป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่งไปแล้ว เป็นสิ่งที่ทำได้ทุกวันเหมือนการกินข้าว การอาบน้ำ การนอนหลับพักผ่อน ไม่ใช่เฉพาะวันที่จะเข้าวัดหรือเฉพาะวันพระเท่านั้น
ที่สำคัญคือสังเกตได้ว่าจิตใจมั่นคงดีขึ้นพอสมควร แม้เรื่องประกันคุณภาพการศึกษาและเรื่องอื่น ๆ จะรบกวนชีวิตอยู่มากเหมือนเดิม แต่ก็รบกวนจิตใจเราได้น้อยลง ทำให้รู้สึกว่าต้องบ่นน้อยลง รำคาญตัวเองน้อยลง แค่เท่าที่ได้ในปัจจุบันชาตินี้ก็คุ้มแล้ว
หากท่านใดได้อ่านบันทึกนี้แล้วเกิดความสนใจว่าหลักสูตรครูสมาธิของสถาบันพลังจิตตานุภาพสอนอะไร ขอให้ไปลองเรียนด้วยตนเองจะดีที่สุด เพราะเล่าไปบางคนก็จะคาดหวังไปเปะปะ ความวิเศษของหลักสูตรนี้อยู่ที่ความธรรมดาของมันนั่นแหละ มันไม่มีอะไรพิสดารหรอก แต่มันได้ผล อย่างน้อยก็กับผมและเพื่อนร่วมรุ่นทุกคน
ถ้าใครจะไปผมก็ขออนุโมทนาด้วยครับ - สวัสดี
วันพุธ, กุมภาพันธ์ 19, 2557
ความชั่วร้ายทั้งหลายล้วนมีรากฐานจากความไม่รับผิดชอบ
ผมสอนหนังสือมาเกือบจะสิบปีแล้ว เท่าที่สอนมาก็ไม่เคยพบว่ามีนักศึกษาคนใดโง่ แม้ผลการเรียนจะแตกต่างกันไปตั้งแต่ A ยัน F แต่คนที่ได้ F ก็ไม่ใช่คนโง่
การได้ F อาจมีเหตุปัจจัยได้หลายเหตุ แต่เหตุหนึ่งที่มักจะละเลยกันก็คือการขาดความรับผิดชอบต่อตนเอง บางคนได้ F เพราะไม่เข้าเรียนก็เลยหมดสิทธิ์สอบ บางคนได้ F เพราะไม่ได้มาสอบ ลืมวันสอบ บางคนได้ F เพราะไม่ทำการบ้านด้วยตนเอง (ข้อสอบมันก็มาจากการบ้านนั่นแหละ)
================================================
ในอีกทางหนึ่ง ในชีวิตผมเองก็ไม่เคยพบปะกับคนที่เลวจากกมลสันดาน หมายถึงเลวแบบไม่มีเหตุผล ทุกคนก็ล้วนต้องคิดว่าตนเองเป็นคนดีกันทั้งนั้น เป็นเรื่องปกติจริง ๆ ที่ทุก ๆ คนจะคิดว่าตนเองเป็นคนดี คำถามมีอยู่ว่าถ้าทุกคนคิดว่าตนเองเป็นคนดีแล้ว คนเลวอยู่ที่ไหนกัน? ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้อย่างไรกัน? คนเราจะทะเลาะไปทำไมกัน?
หลังจากที่อยู่ระหว่างความขัดแย้งทางความคิดอย่างรุนแรงของคนในสังคมมาได้สักพัก ได้เห็น ได้อ่าน ได้ทำความเข้าใจความคิดของเพื่อนหลาย ๆ สี ก็เกิดการตกผลึกทางความคิดขึ้นมาอย่างหนึ่งว่า
เอาเข้าจริงแล้ว คนเลวทั้งหลายอาจจะไม่มีอยู่จริงหรอก มีก็เพียงคนที่รับผิดชอบ กับคนที่ไม่รับผิดชอบเท่านั้น เพราะความ (ต้อง) รับผิดชอบต่อการกระทำใด ๆ ของตน ก็จะทำให้เกิดความอายในสิ่งที่ทำถ้ามีคนรู้ว่าเรา ก็จะทำให้เกิดความกลัวต่อโทษเนื่องจากสิ่งที่เราทำ เรียกว่าทำให้เกิดหิริโอตัปปะ
จึงพอสังเกตได้ว่าคนที่เราคิดว่าเขาไม่ดี ลึก ๆ แล้วเขาอาจไม่ใช่คนไม่ดีอะไร เพียงแต่เขาไม่แสดงความรับผิดชอบในบทบาทของตัวเองตามที่เราคาดหวัง เพื่อนต่างสีกัน เห็นต่างกัน เพราะคาดหวังต่างกัน ต่างฝ่ายต่างคิดว่าคนของฝ่ายตนรับผิดชอบดีแล้ว และคาดหวังให้อีกฝ่ายรับผิดชอบอย่างที่ตนคาดหวัง แต่ต่างคนก็ต่างคาดหวังไปคนละอย่าง
แทนที่จะเถียงกันเรื่องคนดี/คนไม่ดี ซึ่งตัดสินได้ยาก เราน่าจะมาคุยกันเรื่องความรับผิดชอบดีกว่า น่าจะหาจุดที่เห็นตรงกันได้ง่ายกว่า
================================================
ถ้าคน ๆ หนึ่งถูกตัดวงจรความรับผิดชอบของตนเองออกไปจากการกระทำทั้งหลายของตนแล้ว จะคาดหวังให้คน ๆ นั้นกระทำสิ่งใด ๆ โดยมีหิริโอตัปปะกำกับนั้นเป็นไปได้ยากอย่างยิ่ง
อันว่าการแสดงความรับผิดชอบของคนหนึ่ง ๆ นั้น จะถูกเคี่ยวกรำให้เติบโตขึ้นตามขั้นตอนธรรมชาติของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย จากงานเล็ก ๆ ไปสู่งานที่ใหญ่กว่า คนที่กระโดดไปรับงานใหญ่ ๆ เลยจะพัฒนาสำนึกความรับผิดชอบได้ไม่ทัน ก็จะแสดงความรับผิดชอบที่เหมาะสมออกมาไม่ได้ อนึ่งควรบันทึกไว้ด้วยว่าการเติบโตของสำนึกรับผิดชอบของแต่ละคนมีอัตราไม่เท่ากัน ที่เรียกว่าคนเก่ง แท้จริงแล้วสำนึกความรับผิดชอบเขาเติบโตเร็วกว่า ที่เรียกว่าไม่เก่ง แท้จริงแล้วสำนึกความรับผิดชอบเขาเติบโตช้ากว่าเท่านั้น
การไม่รับผิดชอบก็มีหลายแบบ คือ
สังเกตดูคนที่ไม่อยากรับผิดชอบ แต่อยากใหญ่ พวกนี้จะไม่ค่อย ๆ พัฒนาสำนึกความรับผิดชอบของตนขึ้นมาจากงาน จะด้วยความด้อยสามารถหรือจะด้วยความขี้เกียจก็แล้วแต่ เส้นทางที่จะเติบโตขึ้นของคนเหล่านี้อาจจะมาจากเส้นสาย อาจจะมาจากการสร้างภาพ หรืออื่น ๆ แต่เราจะดูคนพวกนี้ออกก็ตอนที่เกิดวิกฤติในงาน
คนที่พัฒนาสำนึกความรับผิดชอบมาตามปกติก็จะแสดงความรับผิดชอบตามความเหมาะควรออกมาได้ และด้วยความเข้าใจของเขาว่าทุกสิ่งที่เขาทำ เขาก็ต้องรับผิดชอบ ทำให้เขาทำไม่ดีได้ยาก
ส่วนคนที่พัฒนาการของสำนึกความรับผิดชอบ โตไม่ทันกับงานที่รับผิดชอบ ก็จะสามารถทำอะไรแปลก ๆ ได้หลายอย่าง เพราะไม่ได้คิดไว้ว่าตนเองต้องรับผิดชอบอะไร หรือไม่คิดว่าสิ่งที่ตนทำจะส่งผล ดี/เสียหาย มากน้อยขนาดไหน ก็จะไม่ได้แสดงความรับผิดชอบที่เหมาะควรขึ้นมา
================================================
จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนในสังคมที่มีศักยภาพจริง จะปล่อยให้คนที่ขาดศักยภาพเติบโตขึ้นไปรับผิดชอบงานสำคัญของสังคมไม่ได้ เพราะคนพวกนี้รับผิดชอบไม่ได้และทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาทำ ก็จะกระทบคนในสังคมทั้งหมด
สุดท้ายแล้ว การที่เราปล่อยให้คนที่ไม่เก่ง ไม่พร้อม ไม่รู้ ขึ้นไปรับผิดชอบงานสำคัญ ๆ ของสังคมที่เราอยู่ได้ไม่ว่าระดับไหนก็ตาม ก็ถือว่าเป็นความไม่รับผิดชอบต่อสังคมของเราเองเช่นกัน
และพวกเราก็ล้วนต้องรับผลของความไม่รับผิดชอบนั้นทั่วกันทุกคน
การได้ F อาจมีเหตุปัจจัยได้หลายเหตุ แต่เหตุหนึ่งที่มักจะละเลยกันก็คือการขาดความรับผิดชอบต่อตนเอง บางคนได้ F เพราะไม่เข้าเรียนก็เลยหมดสิทธิ์สอบ บางคนได้ F เพราะไม่ได้มาสอบ ลืมวันสอบ บางคนได้ F เพราะไม่ทำการบ้านด้วยตนเอง (ข้อสอบมันก็มาจากการบ้านนั่นแหละ)
================================================
ในอีกทางหนึ่ง ในชีวิตผมเองก็ไม่เคยพบปะกับคนที่เลวจากกมลสันดาน หมายถึงเลวแบบไม่มีเหตุผล ทุกคนก็ล้วนต้องคิดว่าตนเองเป็นคนดีกันทั้งนั้น เป็นเรื่องปกติจริง ๆ ที่ทุก ๆ คนจะคิดว่าตนเองเป็นคนดี คำถามมีอยู่ว่าถ้าทุกคนคิดว่าตนเองเป็นคนดีแล้ว คนเลวอยู่ที่ไหนกัน? ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้อย่างไรกัน? คนเราจะทะเลาะไปทำไมกัน?
หลังจากที่อยู่ระหว่างความขัดแย้งทางความคิดอย่างรุนแรงของคนในสังคมมาได้สักพัก ได้เห็น ได้อ่าน ได้ทำความเข้าใจความคิดของเพื่อนหลาย ๆ สี ก็เกิดการตกผลึกทางความคิดขึ้นมาอย่างหนึ่งว่า
เอาเข้าจริงแล้ว คนเลวทั้งหลายอาจจะไม่มีอยู่จริงหรอก มีก็เพียงคนที่รับผิดชอบ กับคนที่ไม่รับผิดชอบเท่านั้น เพราะความ (ต้อง) รับผิดชอบต่อการกระทำใด ๆ ของตน ก็จะทำให้เกิดความอายในสิ่งที่ทำถ้ามีคนรู้ว่าเรา ก็จะทำให้เกิดความกลัวต่อโทษเนื่องจากสิ่งที่เราทำ เรียกว่าทำให้เกิดหิริโอตัปปะ
จึงพอสังเกตได้ว่าคนที่เราคิดว่าเขาไม่ดี ลึก ๆ แล้วเขาอาจไม่ใช่คนไม่ดีอะไร เพียงแต่เขาไม่แสดงความรับผิดชอบในบทบาทของตัวเองตามที่เราคาดหวัง เพื่อนต่างสีกัน เห็นต่างกัน เพราะคาดหวังต่างกัน ต่างฝ่ายต่างคิดว่าคนของฝ่ายตนรับผิดชอบดีแล้ว และคาดหวังให้อีกฝ่ายรับผิดชอบอย่างที่ตนคาดหวัง แต่ต่างคนก็ต่างคาดหวังไปคนละอย่าง
แทนที่จะเถียงกันเรื่องคนดี/คนไม่ดี ซึ่งตัดสินได้ยาก เราน่าจะมาคุยกันเรื่องความรับผิดชอบดีกว่า น่าจะหาจุดที่เห็นตรงกันได้ง่ายกว่า
================================================
ถ้าคน ๆ หนึ่งถูกตัดวงจรความรับผิดชอบของตนเองออกไปจากการกระทำทั้งหลายของตนแล้ว จะคาดหวังให้คน ๆ นั้นกระทำสิ่งใด ๆ โดยมีหิริโอตัปปะกำกับนั้นเป็นไปได้ยากอย่างยิ่ง
อันว่าการแสดงความรับผิดชอบของคนหนึ่ง ๆ นั้น จะถูกเคี่ยวกรำให้เติบโตขึ้นตามขั้นตอนธรรมชาติของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย จากงานเล็ก ๆ ไปสู่งานที่ใหญ่กว่า คนที่กระโดดไปรับงานใหญ่ ๆ เลยจะพัฒนาสำนึกความรับผิดชอบได้ไม่ทัน ก็จะแสดงความรับผิดชอบที่เหมาะสมออกมาไม่ได้ อนึ่งควรบันทึกไว้ด้วยว่าการเติบโตของสำนึกรับผิดชอบของแต่ละคนมีอัตราไม่เท่ากัน ที่เรียกว่าคนเก่ง แท้จริงแล้วสำนึกความรับผิดชอบเขาเติบโตเร็วกว่า ที่เรียกว่าไม่เก่ง แท้จริงแล้วสำนึกความรับผิดชอบเขาเติบโตช้ากว่าเท่านั้น
การไม่รับผิดชอบก็มีหลายแบบ คือ
- ไม่รู้ว่าต้องรับผิดชอบ (ไม่รู้หน้าที่)
- ไม่รู้ว่าจะรับผิดชอบอย่างไร (ไม่รู้วิธี)
- ไม่ต้องการรับผิดชอบ (ไม่รู้สำนึก)
สังเกตดูคนที่ไม่อยากรับผิดชอบ แต่อยากใหญ่ พวกนี้จะไม่ค่อย ๆ พัฒนาสำนึกความรับผิดชอบของตนขึ้นมาจากงาน จะด้วยความด้อยสามารถหรือจะด้วยความขี้เกียจก็แล้วแต่ เส้นทางที่จะเติบโตขึ้นของคนเหล่านี้อาจจะมาจากเส้นสาย อาจจะมาจากการสร้างภาพ หรืออื่น ๆ แต่เราจะดูคนพวกนี้ออกก็ตอนที่เกิดวิกฤติในงาน
คนที่พัฒนาสำนึกความรับผิดชอบมาตามปกติก็จะแสดงความรับผิดชอบตามความเหมาะควรออกมาได้ และด้วยความเข้าใจของเขาว่าทุกสิ่งที่เขาทำ เขาก็ต้องรับผิดชอบ ทำให้เขาทำไม่ดีได้ยาก
ส่วนคนที่พัฒนาการของสำนึกความรับผิดชอบ โตไม่ทันกับงานที่รับผิดชอบ ก็จะสามารถทำอะไรแปลก ๆ ได้หลายอย่าง เพราะไม่ได้คิดไว้ว่าตนเองต้องรับผิดชอบอะไร หรือไม่คิดว่าสิ่งที่ตนทำจะส่งผล ดี/เสียหาย มากน้อยขนาดไหน ก็จะไม่ได้แสดงความรับผิดชอบที่เหมาะควรขึ้นมา
================================================
จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนในสังคมที่มีศักยภาพจริง จะปล่อยให้คนที่ขาดศักยภาพเติบโตขึ้นไปรับผิดชอบงานสำคัญของสังคมไม่ได้ เพราะคนพวกนี้รับผิดชอบไม่ได้และทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาทำ ก็จะกระทบคนในสังคมทั้งหมด
สุดท้ายแล้ว การที่เราปล่อยให้คนที่ไม่เก่ง ไม่พร้อม ไม่รู้ ขึ้นไปรับผิดชอบงานสำคัญ ๆ ของสังคมที่เราอยู่ได้ไม่ว่าระดับไหนก็ตาม ก็ถือว่าเป็นความไม่รับผิดชอบต่อสังคมของเราเองเช่นกัน
และพวกเราก็ล้วนต้องรับผลของความไม่รับผิดชอบนั้นทั่วกันทุกคน
วันเสาร์, พฤษภาคม 25, 2556
คนมีการศึกษาต้องเรียนจบชั้นไหน?
มีคนถาม อ. วิระยา ว่า คนที่เรียกว่ามีการศึกษาต้องจบชั้นไหน?
เป็นคำถามที่ดีมาก ๆ เพราะเวลาพูดกันเรื่องนี้ถ้าไม่นิยามกันให้ชัด ๆ ว่าขอบเขตอยู่ตรงไหนกันแน่ คุยกันไปมากลายเป็นการดูหมิ่นคนจบน้อย คนละเรื่องกันไปคุยกันไม่ได้ใจความ
อ. วิริยา ท่านก็มีคำตอบของท่านว่า
คนที่มีอคติแรงจัดทำให้การคิดใคร่ครวญไม่ถี่ถ้วนรอบคอบ ปักใจเชื่ออะไรง่าย ๆ ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด ถ้ายังไม่ตระหนักว่าตนมีอคติ 4 อยู่ รู้ไม่ทันอคติของตนเองและไม่พยายามลดอคติทั้ง 4 ลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่ระดับของตนจะทำได้ก็นับได้ว่ายังไม่มีการศึกษา
หากบุคคลใดก็ตาม
ทั้ง 4 ข้อเป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกันได้อย่างดี นั่นคือ คนที่รับผิดชอบต่อตนเองก็จะรอบคอบ คนที่รอบคอบ ย่อมไม่หูเบา เมื่อไม่หูเบาย่อมมีอคติน้อย เมื่อมีอคติน้อยก็มีเหตุผลมาก เมื่อมีเหตุผลมากก็จะรู้ว่าต้องรับผิดชอบ เมื่อรับผิดชอบก็รอบคอบ...
ในทางกลับกัน คนที่ไม่รับผิดชอบต่อตนเองย่อมไม่รอบคอบ คนที่ไม่รอบคอบย่อมหูเบา เมื่อหูเบาอคติก็เข้ามาได้ง่าย เมื่อมีอคติจัดย่อมกลายเป็นคนไร้เหตุผล เมื่อขาดเหตุผลก็ไม่รับผิดชอบ เมื่อไม่รับผิดชอบก็ไม่รอบคอบ...
เกณฑ์ 4 ข้อที่กล่าวมานี้ไม่เกี่ยวกับการเป็นคนดีหรือคนไม่ดี เพราะเราสามารถจินตนาการถึงคนที่มีคุณสมบัติของผู้มีการศึกษา 4 ข้อนี้ครบ แต่เอารัดเอาเปรียบคนอื่นได้
ผมเห็นต่างจาก อ. วิริยา ตรงที่ผมไม่คิดว่าเราจะเรียกคนเอารัดเอาเปรียบคนอื่นว่าไร้การศึกษา (แม้ว่าคนทำชั่วล้วนโง่ก็ตาม) เราเรียกคนพวกนี้ว่าคนชั่ว หรือคนไม่ดี ไม่น่าจะเรียกว่าเป็นคนไร้การศึกษาให้สับสนกัน เพราะปัญหาคนไร้การศึกษาแก้ได้ด้วยคุณธรรมชุดหนึ่ง ส่วนปัญหาคนชั่วต้องแก้ด้วยคุณธรรมอีกชุดหนึ่ง หากเอามาปนกันเวลาแก้ปัญหามันจะยุ่ง
ผมพบว่าการได้คิดในเรื่องเช่นนี้สนุกและมีประโยชน์มากทีเดียว หวังว่าข้อสรุปความคิดนี้คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ขอขอบคุณผู้ตั้งคำถามด้วยใจจริงที่เปิดโอกาสให้มีโอกาสคิดในเรื่องนี้ ผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองต่อไปอย่างแน่นอน
เป็นคำถามที่ดีมาก ๆ เพราะเวลาพูดกันเรื่องนี้ถ้าไม่นิยามกันให้ชัด ๆ ว่าขอบเขตอยู่ตรงไหนกันแน่ คุยกันไปมากลายเป็นการดูหมิ่นคนจบน้อย คนละเรื่องกันไปคุยกันไม่ได้ใจความ
อ. วิริยา ท่านก็มีคำตอบของท่านว่า
แฟนเพจถามมา คนมีการศึกษา นั้นต้องจบชั้นอะไร............ก็เป็นคำตอบที่ผมยอมรับได้ ผมเองก็มีความเห็นคล้าย ๆ กัน แต่ว่าเขียนให้อยู่ในอีกรูปแบบหนึ่งได้ว่า ก็คือมันไม่สำคัญหรอกว่าจะเรียนจบชั้นไหน แต่ต้องไม่มีคุณสมบัติของผู้ไร้การศึกษาดังต่อไปนี้
คนมีการศึกษา สำหรับผม คือ.........
คนที่ ใช้เหตุผล มากกว่าใช้กำลัง
นิยมการ รับฟังและหาทางออกที่ดี มากกว่า การใช้อำนาจบังคับ
รู้สึกรังเกียจ ต่อการละเมิดกฏหมาย
อายต่อการเอาเปรียบผู้อื่น
เรียนอะไร จบชั้นไหน ผมก็นับว่าเป็นผู้มีการศึกษา ครับ
เป็นคนหูเบา
คนหูเบามีคนบอกอะไรมาก็เชื่อไปหมด ผมเองยึดหลัก "ไม่ได้เห็นกับตา ไม่ได้ยินกับหู ยังไม่ปักใจเชื่อ" ผมขีดเส้นใต้คำว่า ไม่ปักใจเชื่อ เพราะไม่ได้แนะนำว่าห้ามเชื่อ แต่ก่อนจะเชื่อจะต้องใตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน การใตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะปักใจเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของผู้มีการศึกษาอคติแรงจัด
อคติมี 4 ประเภทคือ- ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก หากมีฉันทาคติกับใครมาก เวลาคน ๆ นั้นพูดอะไรก็มักจะเชื่อเขาง่าย ๆ ปิดประตูที่จะได้รับข้อมูลจากมุมอื่น ๆ
- โทสาคติ ลำเอียงเพราะเกลียด หากเกลียดใครมาก เวลาคน ๆ นั้นพูดอะไรก็จะไม่ฟัง ไม่เอามาคิด ปิดประตูที่จะได้รับทราบข้อมูลจากมุมอื่น ๆ ยิ่งคนอยู่ในสังคมแบ่งฝักแบ่งฝ่าย หากชอบพอกับคนหนึ่ง ก็มักจะต้องเกลียดอีกคนหนึ่งไปด้วยเสมอ อคติทั้ง 2 นี้ก็เลยมักจะโผล่มาพร้อม ๆ กัน
- โมหาคติ ลำเอียงเพราะโง่ หลงงมงายกับเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล เช่นงมงายกับลัทธิ แนวปฏิบัติ บางอย่างโดยปราศจากการคิดอย่างถี่ถ้วน ผมเคยเห็นว่าอาการแบบนี้ คนจบสูง ๆ บางคนก็เป็น คือไปเจอเครื่องไม้เครื่องมือ หรือวิธีการ หรือกระบวนการที่ตนเองประทับใจ ก็ปักใจคิดว่าเครื่องไม้เครื่องมือแบบนี้ วิธีการแบบนี้ กระบวนการแบบนี้ เท่านั้น คือคำตอบสุดท้ายของทุกเรื่อง ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด
- ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว กลัวอำนาจเหนือกว่าเลยสยบยอมแบบราบคาบ กลัวคนว่าไม่รู้เลยทำเป็นรู้ ออกแนว ๆ พระราชาสวมผ้าทิพย์ โดนหลอกเอาง่าย ๆ
คนที่มีอคติแรงจัดทำให้การคิดใคร่ครวญไม่ถี่ถ้วนรอบคอบ ปักใจเชื่ออะไรง่าย ๆ ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด ถ้ายังไม่ตระหนักว่าตนมีอคติ 4 อยู่ รู้ไม่ทันอคติของตนเองและไม่พยายามลดอคติทั้ง 4 ลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่ระดับของตนจะทำได้ก็นับได้ว่ายังไม่มีการศึกษา
ไม่มีเหตุไม่มีผล
ไม่มีการเรียบเรียงความคิดจากเหตุไปหาผล ดังนั้นจึงไม่สามารถทำความเข้าใจเหตุผลได้ และคนดี ๆ ก็ไม่สามารถคุยด้วยโดยใช้เหตุผลได้ ความมีเหตุมีผลนี้ต้องอยู่กับโลกของความเป็นจริง การเป็นเหตุเป็นผลในโลกอื่น ๆ เช่น เกม การ์ตูน นิยาย ไม่นับ ความไม่มีเหตุผลแบบหนึ่งที่พบบ่อยในหมู่คนไร้การศึกษาก็คือการคิดเข้าข้างตนเอง ทำให้เกิดความไม่รอบคอบ และสร้างปัญหานานาประการให้กับชีวิตของตนเองไม่รับผิดชอบ
คืออาจเป็นเพราะไม่เข้าใจถึงผลของการกระทำอย่างถ่องแท้ จึงไม่รู้สึกว่าต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น ๆ ความไม่รับผิดชอบอาจแสดงออกมาได้หลายทาง เช่นชุ่ย มักง่าย ไม่รอบคอบ คิดทางเดียว (คือไม่มีการคิดเผื่อความผิดพลาด) หรือที่เลวร้ายที่สุดก็คือไม่ขวนขวายใส่ใจทำแม้แต่งานของตนเอง รวมทั้งหมดลงได้ที่ความไม่รับผิดชอบทั้งสิ้นหากบุคคลใดก็ตาม
- หูเบา
- อคติจัด
- ไม่มีเหตุผล
- ขาดความรับผิดชอบ
- ไม่ปักใจเชื่ออะไรง่าย
- วินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ โดยปราศจากอคติ
- มีเหตุมีผล และ
- มีความรับผิดชอบในงาน
ทั้ง 4 ข้อเป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกันได้อย่างดี นั่นคือ คนที่รับผิดชอบต่อตนเองก็จะรอบคอบ คนที่รอบคอบ ย่อมไม่หูเบา เมื่อไม่หูเบาย่อมมีอคติน้อย เมื่อมีอคติน้อยก็มีเหตุผลมาก เมื่อมีเหตุผลมากก็จะรู้ว่าต้องรับผิดชอบ เมื่อรับผิดชอบก็รอบคอบ...
ในทางกลับกัน คนที่ไม่รับผิดชอบต่อตนเองย่อมไม่รอบคอบ คนที่ไม่รอบคอบย่อมหูเบา เมื่อหูเบาอคติก็เข้ามาได้ง่าย เมื่อมีอคติจัดย่อมกลายเป็นคนไร้เหตุผล เมื่อขาดเหตุผลก็ไม่รับผิดชอบ เมื่อไม่รับผิดชอบก็ไม่รอบคอบ...
เกณฑ์ 4 ข้อที่กล่าวมานี้ไม่เกี่ยวกับการเป็นคนดีหรือคนไม่ดี เพราะเราสามารถจินตนาการถึงคนที่มีคุณสมบัติของผู้มีการศึกษา 4 ข้อนี้ครบ แต่เอารัดเอาเปรียบคนอื่นได้
ผมเห็นต่างจาก อ. วิริยา ตรงที่ผมไม่คิดว่าเราจะเรียกคนเอารัดเอาเปรียบคนอื่นว่าไร้การศึกษา (แม้ว่าคนทำชั่วล้วนโง่ก็ตาม) เราเรียกคนพวกนี้ว่าคนชั่ว หรือคนไม่ดี ไม่น่าจะเรียกว่าเป็นคนไร้การศึกษาให้สับสนกัน เพราะปัญหาคนไร้การศึกษาแก้ได้ด้วยคุณธรรมชุดหนึ่ง ส่วนปัญหาคนชั่วต้องแก้ด้วยคุณธรรมอีกชุดหนึ่ง หากเอามาปนกันเวลาแก้ปัญหามันจะยุ่ง
ผมพบว่าการได้คิดในเรื่องเช่นนี้สนุกและมีประโยชน์มากทีเดียว หวังว่าข้อสรุปความคิดนี้คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ขอขอบคุณผู้ตั้งคำถามด้วยใจจริงที่เปิดโอกาสให้มีโอกาสคิดในเรื่องนี้ ผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองต่อไปอย่างแน่นอน
[แก้ไข]
ผมขยายความจากหัวข้อรอบคอบให้กลายเป็นรับผิดชอบ เพราะรับผิดชอบกินความครอบคลุมมากกว่าวันจันทร์, มกราคม 14, 2556
เส้นทางแห่งการปรองดอง
ช่วงสัปดาห์นี้ได้มีโอกาสไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุที่มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ทำให้จิตใจมันน้อมเข้าสู่คำสอนของพระพุทธเจ้ามากกว่าปกติจนถึงขั้นขวนขวายไปหาธรรมบรรยายมาฟัง
ระหว่างที่ค้นหาก็ได้พบบรรยายธรรมเกี่ยวกับพระสูตรอยู่ 2 บทคือ การบรรยายธรรมเรื่องสาราณียธรรมสูตร และ การบรรยายธรรมเรื่องสิงคาลกสูตร เนื้อหาก็มีเยอะแต่ที่จับได้ตามกำลังสติ ปัญญา และสมาธิ ก็คือพระสูตรแรกว่าด้วยเรื่องความสามัคคี และพระสูตรหลังว่าด้วยธรรมะสำหรับฆราวาส ฟังแล้วก็ได้คิดว่าถ้านำไปใช้ในเรื่องการเมือง ประเทศไทยคงสงบสุขเร็วขึ้น
ในบรรยายธรรมเรื่องสาราณียธรรมสูตรนั้นท่านว่าเหตุแห่งความสามัคคีนั้นก็คือ
เรื่องนี้คงต้องทำความเข้าใจกันจริง ๆ จัง ๆ ว่าคำว่าภายใต้กฏหมายเท่าเทียมกันนั้น มันไม่ต้องเท่ากันเป๊ะ ๆ ทุกคน เรียกว่าให้เสมอกันตามฐานานุรูปก็น่าจะได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละคนก็ล้วนมีบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ กัน แม้แต่ในโรงเรียน นักเรียนคุยในห้องเรียนก็ถูกตัดคะแนน ครูคุยในห้องเรียนก็ไม่มีคะแนนจะตัด แต่มีโทษอย่างอื่นแทน เช่นถูกครูใหญ่ตำหนิ ตักเตือน ตัดเงินเดือน ฯลฯ นี้แสดงให้เห็นว่า สิทธิเท่าเทียมมันไม่ได้เท่ากันเป๊ะ ๆ แบบเหมือนกันทุกประการ แต่มันจะมีหลักการอันสมเหตุสมผลรองรับให้เหมาะให้ควรแก่บทบาทหน้าที่ของแต่ละคน
การยกให้ใครเหนือกฏหมายโดยสิ้นเชิงหรือการพยายามกดให้ทุกคนอยู่ในกฏแบบเท่ากันเป๊ะ ๆ ผมจึงคิดว่าเป็นเรื่องผิดธรรมชาติและเป็นเหตุแห่งความแตกแยกเอามาก ๆ
อีกประเด็นที่ว่าทิฏฐิควรเสมอกัน ที่ผมแปลว่าอุดมการณ์ไปในทางเดียวกันก็มีข้อโต้แย้งได้ว่า คนเราจะคิดเหมือนกันได้อย่างไร หรือที่ร้ายกว่าคือจะไปควบคุมให้ทุก ๆ คนคิดเหมือนกันได้อย่างไร
ผมคิดว่าภายใต้ความแตกต่างกันในทางการเมืองนั้น ทุกคน (ควรจะ) มีอุดมการณ์ปลายทางอย่างเดียวกัน ก็คือความสุขความเจริญของประเทศชาติ (ชาติก็คือประชาชน) ความสงบสันติ ไม่ว่าจะเชื่อลัทธิการเมืองแบบใดก็ควรมีความคาดหวังเช่นนี้ไว้เป็นปลายทาง ถ้าเรามองเรื่องนี้ให้ชัด ๆ เราก็ควรจะเห็นได้ว่าทุกคนในประเทศ (ที่เป็นปรกติ) น่าจะถือได้ว่ามีทิฏฐิเสมอกันทั้งนั้น แต่จะไปยึดติดแบ่งเขาแบ่งเราด้วยหลักอุดมการณ์ที่ตื้นกว่าอยู่หรือเปล่า
ถ้าเมื่อใดก็ตามที่เรามีการโต้แย้งกันทางการเมือง ทางสังคม แล้วเราย้อนกลับมาคิดถึงศีลเสมอกัน และทิฏฐิเสมอกัน เราก็สามารถที่จะถกเถียงได้อย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ ความเกลียดชังกัน การเหน็บแนมเสียดสีกันก็น่าจะลดลง
การโต้แย้งใดที่ไม่เอื้อต่อการทำความเข้าใจกัน โดยอาศัยสองหลักที่ว่าข้างต้น ก็น่าที่จะถูกตั้งคำถามจากประชาชนว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องหรือไม่
การสร้างสรรค์สังคมที่จะตระหนักถึงการทำให้ศีลเสมอกันและทิฏฐิเสมอกันได้นั้น บุคคล 2 กลุ่มเป็นอย่างน้อยควรตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองที่จะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม นั่นก็คือ
หากการแสดงหลักการ แสดงความเห็น เสนอข่าวและข้อมูลต่าง ๆ กระทำกันแบบตรงไปตรงมาโดยปราศจากอคติ 4 ประชาชนก็จะได้เรียนรู้ และเมื่อประชาชนได้เรียนรู้ก็จะเกิดความเข้าใจในสภาพศีลเสมอกัน ทิฏฐิเสมอกัน เมื่อเข้าใจและปฏิบัติได้ สามัคคีก็เกิด ความเจริญก้าวหน้าก็เกิด
ผมคิดว่าเราไม่ต้องไปหวังอะไรจากนักการเมือง เจ้าลัทธิ นักปลุกระดม แต่เราควรคาดหวังได้จากนักวิชาการและสื่อสารมวลชนธรรมดา ๆ นี่แหละ ถ้าเราคาดหวังอะไรจากนักวิชาการและสื่อสารมวลชนไม่ได้ ไม่ว่าหลักการสวยหรูใด ๆ ก็ไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์อันใดแก่ประเทศไทย ประชาชนชาวไทย และสังคมไทยทั้งสิ้น
ถ้าพวกเราจะรู้ทันนักการเมือง เจ้าลัทธิ และนักปลุกระดมได้ ประเทศไทยน่าจะเจริญกว่านี้ สงบสุขกว่านี้ และน่าอยู่กว่านี้มากทีเดียว
อ้างอิง
บรรยายธรรมที่ผมได้รับฟังนี้เป็นบรรยายธรรมเรื่องพระสูตรของท่านพระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) เป็นพระสูตรแผ่นที่หนึ่ง ลำดับที่ 2 และลำดับที่ 14 - 17 ตามลำดับ
ระหว่างที่ค้นหาก็ได้พบบรรยายธรรมเกี่ยวกับพระสูตรอยู่ 2 บทคือ การบรรยายธรรมเรื่องสาราณียธรรมสูตร และ การบรรยายธรรมเรื่องสิงคาลกสูตร เนื้อหาก็มีเยอะแต่ที่จับได้ตามกำลังสติ ปัญญา และสมาธิ ก็คือพระสูตรแรกว่าด้วยเรื่องความสามัคคี และพระสูตรหลังว่าด้วยธรรมะสำหรับฆราวาส ฟังแล้วก็ได้คิดว่าถ้านำไปใช้ในเรื่องการเมือง ประเทศไทยคงสงบสุขเร็วขึ้น
ในบรรยายธรรมเรื่องสาราณียธรรมสูตรนั้นท่านว่าเหตุแห่งความสามัคคีนั้นก็คือ
- บุคคลในหมู่คณะต้องมีศีลเสมอกัน ท่านขยายความว่าทุกคนต้องมีสิทธิ์เท่า ๆ กันตามสมควรแห่งฐานานุรูป
- อีกข้อหนึ่งก็คือบุคคลในหมู่คณะต้องมีทิฏฐิเสมอกัน จากที่ท่านขยายความผมก็เข้าใจว่าคล้าย ๆ อุดมการณ์เดียวกันนั่นแหละ คือหวังผลปลายทางไว้อย่างเดียวกัน
- ศีลไม่เสมอกัน คือคนกลุ่มหนึ่งได้รับข้อยกเว้นบางอย่าง คนอีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้รับข้อยกเว้นโดยไม่มีเหตุแห่งการยกเว้น คนกลุ่มหนึ่งมีสิทธิบางอย่างเหนือกว่าคนอีกกลุ่มหนึ่งโดยไม่มีเหตุแห่งการมีอภิสิทธิ์ หรือเหตุดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล ก็เรียกว่าศีลไม่เสมอกัน การระงับเหตุแห่งการมีศีลไม่เสมอกันในระดับประเทศก็คือการบังคับใช้กฏหมายต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
- ทิฏฐิไม่เสมอกัน คือมีความเห็นในด้านอุดมคติเป้าหมายปลายทางที่แตกต่างกันมาก
เรื่องนี้คงต้องทำความเข้าใจกันจริง ๆ จัง ๆ ว่าคำว่าภายใต้กฏหมายเท่าเทียมกันนั้น มันไม่ต้องเท่ากันเป๊ะ ๆ ทุกคน เรียกว่าให้เสมอกันตามฐานานุรูปก็น่าจะได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละคนก็ล้วนมีบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ กัน แม้แต่ในโรงเรียน นักเรียนคุยในห้องเรียนก็ถูกตัดคะแนน ครูคุยในห้องเรียนก็ไม่มีคะแนนจะตัด แต่มีโทษอย่างอื่นแทน เช่นถูกครูใหญ่ตำหนิ ตักเตือน ตัดเงินเดือน ฯลฯ นี้แสดงให้เห็นว่า สิทธิเท่าเทียมมันไม่ได้เท่ากันเป๊ะ ๆ แบบเหมือนกันทุกประการ แต่มันจะมีหลักการอันสมเหตุสมผลรองรับให้เหมาะให้ควรแก่บทบาทหน้าที่ของแต่ละคน
การยกให้ใครเหนือกฏหมายโดยสิ้นเชิงหรือการพยายามกดให้ทุกคนอยู่ในกฏแบบเท่ากันเป๊ะ ๆ ผมจึงคิดว่าเป็นเรื่องผิดธรรมชาติและเป็นเหตุแห่งความแตกแยกเอามาก ๆ
อีกประเด็นที่ว่าทิฏฐิควรเสมอกัน ที่ผมแปลว่าอุดมการณ์ไปในทางเดียวกันก็มีข้อโต้แย้งได้ว่า คนเราจะคิดเหมือนกันได้อย่างไร หรือที่ร้ายกว่าคือจะไปควบคุมให้ทุก ๆ คนคิดเหมือนกันได้อย่างไร
ผมคิดว่าภายใต้ความแตกต่างกันในทางการเมืองนั้น ทุกคน (ควรจะ) มีอุดมการณ์ปลายทางอย่างเดียวกัน ก็คือความสุขความเจริญของประเทศชาติ (ชาติก็คือประชาชน) ความสงบสันติ ไม่ว่าจะเชื่อลัทธิการเมืองแบบใดก็ควรมีความคาดหวังเช่นนี้ไว้เป็นปลายทาง ถ้าเรามองเรื่องนี้ให้ชัด ๆ เราก็ควรจะเห็นได้ว่าทุกคนในประเทศ (ที่เป็นปรกติ) น่าจะถือได้ว่ามีทิฏฐิเสมอกันทั้งนั้น แต่จะไปยึดติดแบ่งเขาแบ่งเราด้วยหลักอุดมการณ์ที่ตื้นกว่าอยู่หรือเปล่า
ถ้าเมื่อใดก็ตามที่เรามีการโต้แย้งกันทางการเมือง ทางสังคม แล้วเราย้อนกลับมาคิดถึงศีลเสมอกัน และทิฏฐิเสมอกัน เราก็สามารถที่จะถกเถียงได้อย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ ความเกลียดชังกัน การเหน็บแนมเสียดสีกันก็น่าจะลดลง
การโต้แย้งใดที่ไม่เอื้อต่อการทำความเข้าใจกัน โดยอาศัยสองหลักที่ว่าข้างต้น ก็น่าที่จะถูกตั้งคำถามจากประชาชนว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องหรือไม่
การสร้างสรรค์สังคมที่จะตระหนักถึงการทำให้ศีลเสมอกันและทิฏฐิเสมอกันได้นั้น บุคคล 2 กลุ่มเป็นอย่างน้อยควรตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองที่จะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม นั่นก็คือ
- นักวิชาการและ
- สื่อสารมวลชน
- ฉันทาคติ คือลำเอียงเพราะชอบ
- โทสาคติ คือลำเอียงเพราะชัง
- โมหาคติ คือลำเอียงเพราะหลง
- ภยาคติ คือลำเอียงเพราะกลัว
หากการแสดงหลักการ แสดงความเห็น เสนอข่าวและข้อมูลต่าง ๆ กระทำกันแบบตรงไปตรงมาโดยปราศจากอคติ 4 ประชาชนก็จะได้เรียนรู้ และเมื่อประชาชนได้เรียนรู้ก็จะเกิดความเข้าใจในสภาพศีลเสมอกัน ทิฏฐิเสมอกัน เมื่อเข้าใจและปฏิบัติได้ สามัคคีก็เกิด ความเจริญก้าวหน้าก็เกิด
ผมคิดว่าเราไม่ต้องไปหวังอะไรจากนักการเมือง เจ้าลัทธิ นักปลุกระดม แต่เราควรคาดหวังได้จากนักวิชาการและสื่อสารมวลชนธรรมดา ๆ นี่แหละ ถ้าเราคาดหวังอะไรจากนักวิชาการและสื่อสารมวลชนไม่ได้ ไม่ว่าหลักการสวยหรูใด ๆ ก็ไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์อันใดแก่ประเทศไทย ประชาชนชาวไทย และสังคมไทยทั้งสิ้น
ถ้าพวกเราจะรู้ทันนักการเมือง เจ้าลัทธิ และนักปลุกระดมได้ ประเทศไทยน่าจะเจริญกว่านี้ สงบสุขกว่านี้ และน่าอยู่กว่านี้มากทีเดียว
อ้างอิง
บรรยายธรรมที่ผมได้รับฟังนี้เป็นบรรยายธรรมเรื่องพระสูตรของท่านพระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) เป็นพระสูตรแผ่นที่หนึ่ง ลำดับที่ 2 และลำดับที่ 14 - 17 ตามลำดับ
วันอาทิตย์, มกราคม 06, 2556
คำถามที่ตรรก (เท่าที่ผมมีปัญญาอยู่) ตอบไม่ได้
คำถามที่ตรรก (เท่าที่ผมมีปัญญาอยู่) ตอบไม่ได้มีดังต่อไปนี้
ผมมีความปรารถนาจะตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ด้วยตรรก จึงมาบันทึกคำถามเหล่านี้ไว้เพื่อให้คนมาช่วยเหลือครับ คำตอบที่ได้ผมจะนำไปเรียบเรียงและใช้ตอบคำถามนักเรียนในโอกาสที่จำเป็นต่อไป
ผมคิดว่าหากเราไม่พยายามตอบคำถามทำนองนี้ด้วยความเข้าอกเข้าใจในผู้ถาม สักแต่ว่าติเตียนถ่ายเดียว การเรียนรู้อย่างแท้จริงของเยาวชนก็จะไม่เกิด และจะกลายเป็นระเบิดเวลากลับมาทำร้ายสังคมของเราเองได้ในอนาคต
- ภาษาที่มีคนใช้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เรียกว่าภาษามีชีวิต แล้วทำไมต้องเคร่งครัดกับการเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องด้วย
- มนุษยชาติใหญ่กว่าชาติ และความคลั่งชาติก็สร้างปัญหาให้มนุษยชาติมากมาย ทำไมต้องรักชาติของตนมากกว่าชาติอื่น ๆ ด้วย
- มารยาทเป็นเพียงการแสดงออก บอกไม่ได้ด้วยซ้ำว่าจริงใจหรือไม่ ทำไมต้องมีมารยาทด้วย
- ความดี-ความชั่ว เป็นเรื่องสัมพัทธ์ จะดีหรือชั่วขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ ณ ขณะนั้น ๆ สถานที่นั้น ๆ มันไม่ได้มีอยู่จริง แล้วทำไมจะต้องไปใส่ใจมากมายกับ ความดี-ความชั่ว โดยเฉพาะยิ่งกับสิ่งที่เรียกว่า จริยธรรม-ศีลธรรม ยิ่งน่าสงสัยด้วยซ้ำไปว่ามันคืออะไร มีจริงหรือไม่
- การเลี้ยงดูบุตรของพ่อแม่ การสั่งสอนศิษย์ของครูอาจารย์ การช่วยชีวิตคนของหมอ ทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร ล้วนเป็นการทำงานในหน้าที่ตามปกติ ทำไมต้องเป็นบุญคุณกัน ทำไมต้องมีความกตัญญูเป็นคุณธรรมด้วย
- คน ๆ หนึ่งทำให้สิ่งของของอีกคนหนึ่งเสียหายโดยไม่ได้ตั้งใจ ยินดีรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด แต่ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องก้มหัวเอ่ยคำขอโทษ ในเมื่อไม่ได้เจตนา ในเมื่อยินดีรับผิดชอบความเสียหาย ทำไมต้องขอโทษด้วย
- การซื้อขายประเวณี หากเป็นการเต็มใจของผู้ขายและผู้ซื้อ ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีพันธะครอบครัว ถือว่าผิดศีล 5 หรือไม่ และถือว่าผิดคุณธรรมใดหรือไม่ ทำไมการค้าประเวณีจึงได้ชื่อว่าเป็นการค้ามนุษย์?
ผมมีความปรารถนาจะตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ด้วยตรรก จึงมาบันทึกคำถามเหล่านี้ไว้เพื่อให้คนมาช่วยเหลือครับ คำตอบที่ได้ผมจะนำไปเรียบเรียงและใช้ตอบคำถามนักเรียนในโอกาสที่จำเป็นต่อไป
ผมคิดว่าหากเราไม่พยายามตอบคำถามทำนองนี้ด้วยความเข้าอกเข้าใจในผู้ถาม สักแต่ว่าติเตียนถ่ายเดียว การเรียนรู้อย่างแท้จริงของเยาวชนก็จะไม่เกิด และจะกลายเป็นระเบิดเวลากลับมาทำร้ายสังคมของเราเองได้ในอนาคต
วันอาทิตย์, ตุลาคม 14, 2555
ความรู้คืออะไร?
มีนักศึกษาถามใน Facebook ว่าความรู้คืออะไร? เนื่องจากว่าคำตอบมันยาวเลยเอามาเขียนในบล๊อกดีกว่า จะได้อ่านง่ายและเก็บไว้ตอบนักศึกษารุ่นต่อ ๆ ไปได้ด้วย
ความรู้นั้นมีหลายระดับต่าง ๆ กันไป การศึกษาในแต่ละระดับก็คาดหวังผลสัมฤทธิ์เป็นความรู้ในระดับที่ต่าง ๆ กันด้วย จากประสบการณ์ + ความรู้ (ทั้งจากการอ่าน ความจำ การสังเกต การเก็บข้อมูล การคิดวิเคราะห์ การตีความ ฯลฯ) จะสาธายายได้ว่าความรู้มีหลายระดับดังต่อไปนี้
รู้แบบจำได้ คือเคยเห็น จำได้ เรียกว่ารู้แล้ว เช่นรู้ว่าอำเภอชนบทอยู่ในจังหวัดขอนแก่น เป็นต้น ความรู้เช่นนี้ต้องมีแหล่งความรู้ภายนอก เช่นอ่านหนังสือหรือแผนที่แล้วรู้ มีคนบอกแล้วรู้ ความรู้แบบนี้เป็นความรู้แบบรู้ข้อมูล ทั่ว ๆ ไปก็ใช้ความจำเป็นหลัก คนธรรมดาก็จะมีกลไกในการจำสิ่งที่สำคัญสำหรับตนเองเพียงพออยู่แล้ว
โดยปรกติแล้วความรู้ในระดับนี้มีมากก็นับได้ว่ารู้มาก แต่ไม่ได้แปลว่าเก่ง ถ้าเก่งก็ถือว่าเก่งเรื่องจำแม่นเท่านั้น
รู้แบบรู้จัก บ้างก็เรียกรู้จำ คล้าย ๆ กับรู้แบบจำได้ แต่ว่าการจำนั้นจะจำแบบลึกว่าการจำธรรมดา เช่นการเห็นหน้าเพื่อนแล้วรู้จักว่านี่คือเพื่อนเรา ไม่เคยต้องเอามาท่องแต่ก็จำได้ รู้แบบรู้จักนี้หากแม้นว่าหน้าเพื่อนจะเปลี่ยนไปบ้าง เช่นแก่ลง อ้วนขึ้น ไม่เหมือนเดิม เราก็ยังรู้จัก ความรู้ทางเทคนิคที่ใช้ความรู้แบบนี้ผมจัดหมวดหมู่ไว้ในกลุ่มความรู้พื้นฐาน เช่นกฏของโอห์มนี้คนที่เรียนวิศวกรรมไฟฟ้าไม่ควรจะต้องเอามาท่อง มันควรจะรู้แบบรู้จักแล้ว คือฝังลงไปในเส้นเลือดในไขสันหลังแล้ว สามารถหยิบมาใช้ได้แบบไม่รู้ตัวกันเลยทีเดียว ความรู้ในระดับนี้จะได้มาก็ด้วยการใช้ความจำบ่อย ๆ จนกระทั่งจำได้ลึกซึ้ง บางทีผมจะเรียกความรู้ในระดับนี้ว่าทักษะ
ความรู้ระดับนี้มีมากก็นับได้ว่ารู้มาก ยังไม่เรียกว่าเก่ง แต่เรียกได้ว่าเป็นคนคล่องแคล่วว่องไวในงาน และจะช่วยให้เรียนรู้ได้เร็ว เพราะจะทำอะไรก็ไม่เสียเวลาเปิดคู่มือ เปิดตำรา สามารถหยิบใช้ความรู้นี้ได้ทันที
รู้แบบเข้าใจ ภาษาไทยนี้ตรงตัวที่สุด คือมันเข้าไปในใจเลย เปรียบเหมือนจอมยุทธ์ที่ฝึกท่าร่างมาดีแล้ว เมื่อต่อสู้จริงจะใช้กระบวนท่าออกมาได้โดยไม่ต้องท่อง ไม่ต้องคิดถึงคำภีร์หรือตำราอะไร เพราะทุกสิ่งทุกอย่างนั้นอยู่ในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว จะถึงขั้นนี้ได้ข้อมูลทุกอย่างที่รู้ หรือจำได้จะต้องเชื่อมโยงกันตามหลักเหตุและผล ความรู้แบบเข้าใจนี้เมื่อมีแล้วสามารถทำนายผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ได้จากความรู้เดิม ๆ เช่นเรารู้ว่า อำเภอเมืองชุมพร อยู่จังหวัดชุมพร ดังนั้นอำเภอเมืองขอนแก่นก็ย่อมจะต้องอยู่ในจังหวัดขอนแก่น ไม่ต้องรอให้ใครมาบอก ไม่ต้องรออ่านจากตำรา แต่รู้ได้เพราะเข้าใจกลไกการตั้งชื่ออำเภอเมืองนั่นเอง
รู้ระดับนี้หากมีมากก็นับได้ว่ารู้มาก แต่ก็ยังไม่เรียกว่าเก่ง เพียงเรียกได้ว่าเป็นคนหัวไวเท่านั้น
ความรู้ทั้ง 3 ระดับนี้ส่งเสริมและพึ่งพาซึ่งกันและกันเสมอ ขาดระดับใดระดับหนึ่งไปไม่ได้ เปรียบดังหินเส้าไฟซึ่งต้องมีพร้อม 3 เส้าไม่อย่างนั้นก็ตั้งเตาไม่ได้
คนที่หัวไว แต่จำเรื่องพื้นฐานไม่ได้จะเรียนในระดับสูงได้ยาก เพราะจำอะไรไม่ใคร่ได้
คนที่มีทักษะเพราะทำมาก แต่หัวไม่ไวนักก็จะเรียนระดับสูงก็ต้องใช้เวลานาน เพราะเชื่อมโยงกลไกระดับลึกซึ้งไม่ได้
คนที่มีความจำดี แต่ไม่ค่อยซ้อมก็จะขาดทักษะ เหมือนช่างมีเครื่องมือเยอะในกล่องแต่ไม่รู้ว่าอะไรอยู่ที่ไหนในกล่อง
กลไกการส่งเสริมกันของความรู้ทั้ง 3 ระดับจะเป็นเช่นนี้คือ
หวังว่าบันทึกเรื่องนี้คงจะเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาที่กำลังหลงทางและเรียนแบบผิดวิธีอยู่ (จำสูตรไปสอบ)
อ้อ ลืมไป ในตอนต้นได้บอกไปว่ารู้ทั้ง 3 ระดับยังไม่เรียกว่าเก่งแล้วอย่างไรจึงจะเรียกว่าเก่ง สำหรับผมแล้วคนที่จะเรียกว่าเก่งได้ก็คือคนที่สามารถประสานความรู้ทั้ง 3 ระดับและสามารถนำความรู้นั้นมาใช้ทำงานได้ ใช้แก้ปัญหาได้ ใช้สร้างสรรค์ผลงานจริง ๆ ออกมาได้ นั่นจึงจะเรียกได้ว่าเก่งจริงครับ
ความรู้นั้นมีหลายระดับต่าง ๆ กันไป การศึกษาในแต่ละระดับก็คาดหวังผลสัมฤทธิ์เป็นความรู้ในระดับที่ต่าง ๆ กันด้วย จากประสบการณ์ + ความรู้ (ทั้งจากการอ่าน ความจำ การสังเกต การเก็บข้อมูล การคิดวิเคราะห์ การตีความ ฯลฯ) จะสาธายายได้ว่าความรู้มีหลายระดับดังต่อไปนี้
รู้แบบจำได้ คือเคยเห็น จำได้ เรียกว่ารู้แล้ว เช่นรู้ว่าอำเภอชนบทอยู่ในจังหวัดขอนแก่น เป็นต้น ความรู้เช่นนี้ต้องมีแหล่งความรู้ภายนอก เช่นอ่านหนังสือหรือแผนที่แล้วรู้ มีคนบอกแล้วรู้ ความรู้แบบนี้เป็นความรู้แบบรู้ข้อมูล ทั่ว ๆ ไปก็ใช้ความจำเป็นหลัก คนธรรมดาก็จะมีกลไกในการจำสิ่งที่สำคัญสำหรับตนเองเพียงพออยู่แล้ว
โดยปรกติแล้วความรู้ในระดับนี้มีมากก็นับได้ว่ารู้มาก แต่ไม่ได้แปลว่าเก่ง ถ้าเก่งก็ถือว่าเก่งเรื่องจำแม่นเท่านั้น
รู้แบบรู้จัก บ้างก็เรียกรู้จำ คล้าย ๆ กับรู้แบบจำได้ แต่ว่าการจำนั้นจะจำแบบลึกว่าการจำธรรมดา เช่นการเห็นหน้าเพื่อนแล้วรู้จักว่านี่คือเพื่อนเรา ไม่เคยต้องเอามาท่องแต่ก็จำได้ รู้แบบรู้จักนี้หากแม้นว่าหน้าเพื่อนจะเปลี่ยนไปบ้าง เช่นแก่ลง อ้วนขึ้น ไม่เหมือนเดิม เราก็ยังรู้จัก ความรู้ทางเทคนิคที่ใช้ความรู้แบบนี้ผมจัดหมวดหมู่ไว้ในกลุ่มความรู้พื้นฐาน เช่นกฏของโอห์มนี้คนที่เรียนวิศวกรรมไฟฟ้าไม่ควรจะต้องเอามาท่อง มันควรจะรู้แบบรู้จักแล้ว คือฝังลงไปในเส้นเลือดในไขสันหลังแล้ว สามารถหยิบมาใช้ได้แบบไม่รู้ตัวกันเลยทีเดียว ความรู้ในระดับนี้จะได้มาก็ด้วยการใช้ความจำบ่อย ๆ จนกระทั่งจำได้ลึกซึ้ง บางทีผมจะเรียกความรู้ในระดับนี้ว่าทักษะ
ความรู้ระดับนี้มีมากก็นับได้ว่ารู้มาก ยังไม่เรียกว่าเก่ง แต่เรียกได้ว่าเป็นคนคล่องแคล่วว่องไวในงาน และจะช่วยให้เรียนรู้ได้เร็ว เพราะจะทำอะไรก็ไม่เสียเวลาเปิดคู่มือ เปิดตำรา สามารถหยิบใช้ความรู้นี้ได้ทันที
รู้แบบเข้าใจ ภาษาไทยนี้ตรงตัวที่สุด คือมันเข้าไปในใจเลย เปรียบเหมือนจอมยุทธ์ที่ฝึกท่าร่างมาดีแล้ว เมื่อต่อสู้จริงจะใช้กระบวนท่าออกมาได้โดยไม่ต้องท่อง ไม่ต้องคิดถึงคำภีร์หรือตำราอะไร เพราะทุกสิ่งทุกอย่างนั้นอยู่ในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว จะถึงขั้นนี้ได้ข้อมูลทุกอย่างที่รู้ หรือจำได้จะต้องเชื่อมโยงกันตามหลักเหตุและผล ความรู้แบบเข้าใจนี้เมื่อมีแล้วสามารถทำนายผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ได้จากความรู้เดิม ๆ เช่นเรารู้ว่า อำเภอเมืองชุมพร อยู่จังหวัดชุมพร ดังนั้นอำเภอเมืองขอนแก่นก็ย่อมจะต้องอยู่ในจังหวัดขอนแก่น ไม่ต้องรอให้ใครมาบอก ไม่ต้องรออ่านจากตำรา แต่รู้ได้เพราะเข้าใจกลไกการตั้งชื่ออำเภอเมืองนั่นเอง
รู้ระดับนี้หากมีมากก็นับได้ว่ารู้มาก แต่ก็ยังไม่เรียกว่าเก่ง เพียงเรียกได้ว่าเป็นคนหัวไวเท่านั้น
ความรู้ทั้ง 3 ระดับนี้ส่งเสริมและพึ่งพาซึ่งกันและกันเสมอ ขาดระดับใดระดับหนึ่งไปไม่ได้ เปรียบดังหินเส้าไฟซึ่งต้องมีพร้อม 3 เส้าไม่อย่างนั้นก็ตั้งเตาไม่ได้
คนที่หัวไว แต่จำเรื่องพื้นฐานไม่ได้จะเรียนในระดับสูงได้ยาก เพราะจำอะไรไม่ใคร่ได้
คนที่มีทักษะเพราะทำมาก แต่หัวไม่ไวนักก็จะเรียนระดับสูงก็ต้องใช้เวลานาน เพราะเชื่อมโยงกลไกระดับลึกซึ้งไม่ได้
คนที่มีความจำดี แต่ไม่ค่อยซ้อมก็จะขาดทักษะ เหมือนช่างมีเครื่องมือเยอะในกล่องแต่ไม่รู้ว่าอะไรอยู่ที่ไหนในกล่อง
กลไกการส่งเสริมกันของความรู้ทั้ง 3 ระดับจะเป็นเช่นนี้คือ
- เริ่มต้นเรียนรู้ด้วยการทำความรู้จัก ชื่อ ของสิ่งต่าง ๆ ที่เราสนใจให้ได้มากที่สุดก่อน เช่นชื่อของอุปกรณ์ ชื่อของสารเคมี ชื่อของกระบวนการ ฯลฯ ผมเชื่อว่าหากเรารู้จักชื่อของมันเราจะควบคุมมันได้ จึงสำคัญที่เราจะต้องรู้จักชื่อของสิ่งต่าง ๆ ในแวดวงที่เราสนใจอย่างถูกต้อง นี่เป็นเรื่องความจำ
- ในบรรดาชื่อทั้งหลาย เราย่อมสังเกตได้ว่ามีบางชื่อปรากฏอยู่บ่อยกว่าชื่ออื่น แสดงว่านั่นเป็นชื่อที่สำคัญ หัวข้อที่เราสนใจจะต้องเกี่ยวกับชื่อนี้มาก ให้มองหา เนื้อเรื่อง (Story) ในหัวข้อนั้น ๆ ว่าหัวข้อนี้ต้องการบอกอะไรเรา อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล และส่วนต่าง ๆ ในหัวข้อนี้มันเชื่อมโยงกันอย่างไร นี่เป็นเรื่องความเข้าใจ ขอย้ำว่าให้มองหาเนื้อเรื่องไม่ใช่สมการ นักเรียนที่เรียนด้วยการจำสมการไปทั้งดุ้นมักจะมีปัญหากับการเรียนในวิชาระดับสูงเสมอ
- เมื่อเข้าใจเนื้อเรื่องแล้วจึงค่อยวิเคราะห์สูตร ว่ามันสนับสนุนเนื้อเรื่องของเราอย่างไร นี่ก็ยังเป็นเรื่องความเข้าใจ เพียงแต่ขั้นตอนนี้เราเชื่อมเนื้อเรื่องของเราเข้ากับสมการคณิตศาสตร์เพื่อพร้อมใช้งาน
- เมื่อเข้าใจแล้วก็ทดลองแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาทักษะ ในกระบวนการนี้เราจะเจอทั้ง ชื่อ กลไก สัญลักษณ์และสมการบางอย่างซ้ำ ๆ กันแต่พลิกไปพลิกมาอยู่ในรูปต่าง ๆ กัน การพัฒนาทักษะเช่นนี้จะช่วยให้เรารู้จักสิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบที่แปลกไปจากที่ปรากฏในตำราได้ (คือปลอมตัวมาก็หลอกเราไม่ได้เพราะเรารู้จักมันแล้ว) นี่เป็นเรื่องทักษะ
- ทุกขั้นตอนไม่มีลำดับชัดเจน จะเรียงกลับไปกลับมาอย่างไรก็ได้
หวังว่าบันทึกเรื่องนี้คงจะเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาที่กำลังหลงทางและเรียนแบบผิดวิธีอยู่ (จำสูตรไปสอบ)
อ้อ ลืมไป ในตอนต้นได้บอกไปว่ารู้ทั้ง 3 ระดับยังไม่เรียกว่าเก่งแล้วอย่างไรจึงจะเรียกว่าเก่ง สำหรับผมแล้วคนที่จะเรียกว่าเก่งได้ก็คือคนที่สามารถประสานความรู้ทั้ง 3 ระดับและสามารถนำความรู้นั้นมาใช้ทำงานได้ ใช้แก้ปัญหาได้ ใช้สร้างสรรค์ผลงานจริง ๆ ออกมาได้ นั่นจึงจะเรียกได้ว่าเก่งจริงครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)